พบทั้งหมด 19 คน




กามีละห์ อับดุลดานิง
การนำเอาหลักการแห่งความดีในศาสนามาเป็นแนวทางของการพัฒนาตนเองชุมชนเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองและอยู่ในหลักศาสนาในการพัฒนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนในทางทีดี ลดความขัดแย้งในชุมชน เกิดการบูรณาการ คน/งานและงบประมาณทำให้ชุมชนได้ประโยชน์
ผู้หญิงมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส คนในชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- พัฒนาศักยภาพ อบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทผู้หญิงกับกระบวนการสร้างสันติภาพ และบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน
- จัดตั้งกลุ่มที่สนใจร่วมกันในชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพต่างๆ
- งานสื่อสารสังคม จัดทำ CD เพลงสังคมใหม่




กีรติกานต์ เตชาวัฒนากูล (มีน)
Rainbow Dream Group และกลุ่มรุ้งอรุณ
เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางมีสุขภาวะทางเพศ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความเพศ
- เด็กเยาวชนชาติพันธุ์ เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ
- นักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา วัยรุ่น
- ผู้ชาย ผู้หญิง กลุ่มหลากหลายทางเพศ
- ผู้ปกครอง คนในครอบครัว
- จัดกระบวนการเรียนรู้สร้างความเข้าใจเรื่องเพศ เพศวิถี สุขภาวะทางเพศ ความแตกต่างของเพศ ความหลากหลายทางเพศ และทัศนคติเรื่องเพศให้แก่เยาวชน และส่งเสริมให้กลุ่มแกนนำเยาวชนสามารถเรียนรู้เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น
- จัดกิจกรรมผลิตสื่อและรณรงค์สื่อสารความรู้เรื่องเพศ สิทธิทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน




จันทิมา ตรีเลิศ (จันเจ้า)
เครือข่ายสุขภาวะทางเพศ
ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศ
- เยาวชน วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา
- ผู้ชาย ผู้หญิง กลุ่มหลากหลายทางเพศ
- ผู้ปกครอง คนในครอบครัว
- คนพิการ ประชากรกลุ่มเปราะบาง
- แกนนำชุมชน
- การพัฒนาศักยภาพ ทำความเข้าใจเรื่องฐานคิด ทัศนคติ สิทธิหญิง ชาย LGBTIQ เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย สุขภาวะทางเพศ
- ออกแบบกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ สุขภาวะทางเพศให้แก่ เยาวชน วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ผู้ชาย ผู้หญิง กลุ่มหลากหลายทางเพศ ผู้ปกครอง คนในครอบครัว คนพิการ ประชากรกลุ่มเปราะบาง
- ให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องท้องไม่พร้อม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย




นิศารัตน์ จงวิศาล (ตุ๊ก)
เกิดกลไกการเข้าถึงสิทธิ์และบริการที่ปลอดภัยการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม (ชุมชนออนไลน์)
- ให้คำปรึกษากรณียุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม (ชุมชนออนไลน์)
- ประสานส่งต่อหน่วยงานสาธารณสุขที่ถูกกฎหมายเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม โดยกรณีที่ขาดแคลนจะทำหน้าทีช่วยเหลือโดยมีกองทุนดูหลังผู้หญิงหลังจากการคลอดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ร่วมขับเคลื่อนนโยบายและการแก้กฎหมายยกเลิกการเอาผิดแก่ผู้หญิงที่ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม รวมถึงนโยบายและมาตรการด้านสาธารณสุขและสถานบริการให้สามารถให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย




ปัทมาพร พูนมีทรัพย์ (อี๊ด)
เครือข่ายสุขภาวะทางเพศ
สังคมมีความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ไม่เลือกปฏิบัติ และมีวิถีปฏิบัติที่เท่าเทียมทางเพศ
- ผู้ชาย ผู้หญิง กลุ่มหลากหลายทางเพศ
- ผู้ปกครอง คนในครอบครัว
- เด็กเยาวชนที่ศึกษานอกระบบโรงเรียน
- เยาวชนในมหาวิทยาลัย
- องค์กรภาครัฐ อาทิเช่น ครู สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ครูในโรงเรียน บุคลากรโรงพยาบาล (OSCC) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
- พัฒนาศักยภาพ ออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจเรื่องเพศ สุขภาวะทางเพศ
- พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องเพศร่วมกับครูผู้สอนการศึกษานอกระบบฯ(กศน.)
- ให้คำปรึกษา ท้องที่ปลอดภัย การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศ สุขภาวะทางเพศแบบออนไลน์ให้กับกลุ่มผู้ปกครอง
- อบรมปรับฐานคิดเพื่อสร้างทางทีมในการทำงานเรื่องเพศ สุขภาวะทางเพศและการทำงานป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในชุมชน
- ให้คำปรึกษาผู้ต้องหาก่อนการตัดสินคดีของศาล ศูนย์จิตสังคม ศาลอาญากรุงเทพฯใต้




ผุสดี อยู่คง
ชมรมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ จ.ระนอง
สร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีในครอบครัวเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม
สมาชิกชมรมสตรีไทยดีเด่นจังหวัดระนอง
- การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาชิกชมรมสตรีไทยดีเด่นจังหวัดระนองให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิทธิ์ในด้านต่างๆของสตรี และเสริมพลังให้สตรีลุกขึ้นมามีสิทธิ์ในการจัดการภายในครอบครัวและชุมชนร่วมกัน
- การพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่สตรี อาทิเช่น ฝึกอาชีพผ้าปักปาเต๊ะเพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มสตรีไทยดีเด่นจังหวัดระนอง




ภาสวีร์ เจริญสุข (โปร)
สุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น, กลุ่มชายรักชาย, กลุ่มเพศทางเลือก
วัยรุ่น, กลุ่มชายรักชาย, กลุ่มเพศทางเลือกและกลุ่มคนทั่วไปความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ให้คำปรึกษากลุ่มชายรักชาย, กลุ่มเพศทางเลือกและกลุ่มคนทั่วไปเน้นประเมินความเสี่ยงและการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามระบบประกันสุขภาพ การส่งเสริมการป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและทางเลือกยาต้านไวรัส PEP&PrEP ผ่านระบบออนไลน์บนเว็บเพจ “เลิฟแคร์สเตชั่น” ทุกวันตั้งแต่เวลา 16.00-24.00 น. (ไม่มีวันหยุด) รวมถึงการประเมินร่วมกันแล้ว และส่งต่อไปยังหน่วยบริการในเครือข่ายที่ปลอดภัยตามความเหมาะสมของผู้รับบริการ
- ให้คำปรึกษาประเด็นท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น สุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น
- ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์กับครูและนักเรียนในโรงเรียน ทำสื่อออนไลน์เพื่อเผยแพร่ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการได้สะดวกมากขึ้น
- การรณรงค์เรื่องสิทธิส่วนบุคคล, การไม่ละเมิดสิทธิ์, การไม่ตีตรา, ไม่เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายและสิทธิการเข้าถึงการรักษาอย่างเสมอภาค




มัจฉา พรอินทร์ (เจี๊ยบ)
- องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน
- V-Day Thailand
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและความเป็นธรรมทางสังคม
ผู้หญิง และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTIQ, ผู้หญิงอัตลักษณ์ชายขอบ อาทิเช่น ผู้หญิงพิการ, ผู้หญิงชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง, ผู้หญิงที่มีปัญหาสถานะบุคคล-ไร้สัญชาติ, ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติ, ผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี, Sex Worker, ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง เป็นต้น
- เสริมศักยภาพผู้หญิง เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง
- จัดทำองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจและเผยแพร่รณรงค์ เรื่องความเป็นธรรมทางเพศ สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงกลุ่มชายขอบ กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อคนไม่มีสัญชาติ และกลุ่ม LGBTIQ
- รณรงค์การยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง สิทธิในร่างกายของผู้หญิง สิทธิมนุษยชน ทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์
- เชื่อมประสานงานเครือข่ายเพื่อร่วมขับเคลื่อนเรื่องความเป็นธรรมทางเพศและความเป็นธรรมทางสังคม
- ร่วมจัดตั้งและดำเนินงาน “School of Feminists” เสริมสร้างศักยภาพเยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เป็นนักนักสตรีนิยมที่ทำงานเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความเป็นธรรม
- จัดการเรียนรู้ในหลักสูตร Feminist theory and Practice ที่มีเนื้อหาทั้งภาคทฤษฎีเฟมินิสต์และสิทธิมนุษยชนรวมทั้งภาคปฏิบัติการ
- สร้างและเชื่อมโยงขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ สิทธิมนุษยชนในระดับชุมชน-ประเทศ-ระหว่างประเทศ
- ขับเคลื่อนผลักดันนโยบาย เช่น สิทธิในก่อตั้งครอบครัว และการสมรสเท่าเทียมของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและนโยบายสิทธิของผู้หญิงที่มีปัญหาสถานะบุคคล
- พัฒนาส่งเสริมและรณรงค์การให้การช่วยเหลือในภาวะวิกฤตด้านมนุษยธรรม โดยใช้มุมมองที่รอบด้าน (ด้านสิทธิมนุษยชน เพศภาวะและมุมมองด้านสิทธิหลากหลายทางเพศ (SOGIESC)) ในกลุ่มประชากรที่บอบบาง ได้แก่ ผู้หญิง เด็ก และเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองที่ไร้ที่ดินและไร้สัญชาติ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงศึกษาผลกระทบจากวิกฤติจากโรค Covid-19ในกลุ่มเปราะบางรวมถึงรณรงค์ผลักดันให้เกิดการช่วยเหลือ กลุ่มผู้หญิง เด็ก และเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองที่ไร้สัญชาติ




มารีก๊ะ หวังจิ (ก๊ะ)
เสริมสร้าง องค์กรชุมชนเข้มแข็ง โดยการใช้หลักศาสนานำการพัฒนาโดยชุมชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนงานพัฒนาด้วยตนเอง มีผู้นำชุมชน“สี่เสาหลัก”ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และผู้นำธรรมชาติ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนในพื้นที่ สามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ผู้หญิงมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส คนในชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
- พัฒนาศักยภาพ อบรมให้ความรู้เรื่องบทบาทผู้หญิงกับกระบวนการสร้างสันติภาพ และบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน
- จัดตั้งกลุ่มที่สนใจร่วมกันในชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มอาชีพต่างๆ
- งานสื่อสารสังคม จัดทำ CD เพลงสังคมใหม่




รัชนี วิศิษฎ์วโรดม (ตุ๊กตา)
กลุ่มของขวัญจากผู้หญิงหลังกำแพง
ผู้ต้องขังหญิงมีความเข้มแข็ง มั่นคงภายในจิตใจ ยอมรับและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น ปลดล็อคตนเองสู่อิสรภาพภายใน และกลับมาเห็นคุณค่าด้านในของชีวิต
- ผู้ต้องขังหญิงที่สมัครใจเข้าร่วมเรียนรู้ ผู้ต้องขังหญิงแรกรับ ผู้ต้องขังหญิงที่ทำผิดซ้ำ ผู้ต้องขังหญิงที่กำลังจะพ้นโทษ
- เจ้าหน้าที่เรือนจำ/ทัณฑสถาน
- ออกแบบและพัฒนากระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาด้านใน(จิตใจ) และความมั่นคงภายในของผู้ต้องขังหญิง
- อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาด้านใน(จิตใจ) และความมั่นคงภายในให้แก่ผู้ต้องขังหญิงในเรื่อง อาทิเช่น
- การเข้าใจและยอมรับตนเองและผู้อื่น การเท่าทันอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกตัว การฝึกสติและภาวนา ฟื้นฟูจิตใจจากบาดแผลทางใจในอดีต การเท่าทันอิทธิพลกรอบทางสังคมที่ส่งผลต่อชีวิต ทัศนะ อคติ ที่กดทับคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะเรื่องความเป็นเพศและเพศวิถี (Gender and Sexuality)
- ศิลปะบำบัดในหลายรูปแบบ
- การพัฒนาศักยภาพให้แก่แกนนำผู้ต้องขังหญิงให้สามารถเป็นกระบวนกรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ นำกระบวนการพัฒนาด้านใน(จิตใจ) และความมั่นคงภายในของผู้ต้องขังหญิง
- ประสานการทำงานโครงการ “Happy Center” ร่วมกับทัณฑสถานในการจัดกิจกรรมพัฒนาด้านใน(จิตใจ) และความมั่นคงภายในของผู้ต้องขังหญิง
- จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก้เจ้าหน้าที่เรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อให้เกิดความมั่นคงภายใน มีคุณภาพจิตใจที่ดีในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เข้าใจตนเองเคารพความหลากหลายของผู้อื่น ตระหนักรู้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ภายในตนและผู้ต้องขังในความดูแลของตน




ลัดดา ไวยวรรณ์ (หน่อย)
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ชายแดนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- กลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTIQs
- กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์
- กลุ่มแม่หญิง ไทย-ลาว
- การพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบ และครอบครัว โดยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ การดูแลสุขภาพ และความต่อเนื่องในการรักษา ให้แก่สมาชิกกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ และคนในชุมชน
- อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความรู้และทักษะในการสื่อสารเรื่องโรคเอดส์, การเขียนโครงการและการบริหารจัดการ
- จัดทำค่ายครอบครัวและประชุมประจำเดือนในกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ
- ให้คำปรึกษาเพื่อดูแลด้านจิตใจ จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านสมาชิกในกลุ่ม
- ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเบี้ยยังชีพ ทุนการศึกษาสำหรับเด็กที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ
- สร้างเครือข่ายการทำงานด้านเอดส์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ในพื้นที่




ลาวรรณ วิชัยเลิศ (ตุ๊กกี้)
คุณภาพชีวิตของคนในสังคมด้านสุขภาพและสวัสดิการ
เยาวชนคนรุ่นใหม่
- จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้คนทำงานด้านสุขภาพ HIV/AIDS และแกนนำเยาวชนเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้อง ประสานเครือข่ายเยาวชน ด้านสุขภาพ HIV/AIDS
- การเชื่อมประสานความร่วมมือในระดับพื้นที่ ชุมชน อำเภอ จังหวัด โดยมีเป้าหมายร่วมเพื่อให้คนมีความเข้าใจเรื่องการท้องไม่พร้อม การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชีวิตคู่
- การรณรงค์สื่อสารสังคมทุกระดับเพื่อลดการตีตราเรื่องท้องไม่พร้อม