พบทั้งหมด 15 คน

ดวงธิดา ภิวงษ์ (ตู่)
มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน อ.แม่สอด จ.ตาก
การช่วยเหลือแก่ผู้พลัดถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ และช่วยอย่างไม่มีพรมแดน เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีอนาคตที่สดใสต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน ให้การสนับสนุนใน 5 ขอบเขตหลัก ดังนี้ การศึกษา เยาวชน สุขภาพ การพัฒนาชุมชน การคุ้มครองเด็ก
แรงงานข้ามชาติ (ชาวเมียนมาร์) ทั้งเด็กและผู้ปกครอง
- งานด้านการศึกษา ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางการศึกษาสำหรับทุกคน เชื่อมโยงนักเรียนและ “เด็กนอกโรงเรียน” เข้าสู่การโปรแกรมการรับรองจากระบบการศึกษาทางเลือก และรูปแบบทางการเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศต้นทาง
- งานพัฒนาศักยภาพเยาวชน ให้ความรู้แก่เยาวชนอพยพเกี่ยวกับปัญหาสังคม เช่น การค้ามนุษย์แรงงานบังคับแรงงานเด็กการละเมิดสิทธิเด็กการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการใช้ยาเสพติดซึ่งเป็นสาเหตุที่โครงการ Rays of Youth สร้างขึ้นเพื่อผลักดันให้เกิดการรับรู้ภายในชุมชน
- งานด้านสุขภาพ ส่งเสริมการบริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กวัยเรียน รวมถึงการส่งเสริมโภชนาการให้กับเด็ก และสนับสนุนองค์ความรู้ด้านสุขภาพให้กับครอบครัวแรงงานข้ามชาติในชุมชน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติด้านสุขภาพที่ถูกหลัก
- งานด้านการปกป้องคุ้มครองเด็ก มีนโยบายการปกป้องคุ้มครองเด็กที่เข้มงวดและมีความแน่วแน่ในการสนับสนุนสิทธิของเด็กสำหรับเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กทุกคนสมควรที่จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของพวกเขา

อรอริยา จารุชัย (อร)
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
ประชากรข้ามชาติ

อรุณ อภิรักษ์วรากร (โอ๋)
เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นจ.ระนอง
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (ประธานศูนย์อพปร.จ.ระนอง ชุมชนลำเลียง)
ต้องการให้ชาวบ้านที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่ดินได้รับการแก้ไขปัญหา เข้าถึงรัฐสวัสดิการ สิทธิ อย่างทั่วถึง เท่าเทียม
ประชาชนที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ
- ลงพื้นที่ นำเสนอข้อมูลจากส่วนกลางให้ชาวบ้านทราบ
- ประสานงานในระดับนโยบาย จังหวัด-ส่วนกลาง
- รวมตัวกับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อรวบรวมสภาพปัญหา วิเคราะห์ สรุป นำเสนอปัญหาของชาวบ้าน
- ทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปการเมืองและสังคม ในการผลักดันกฎหมาย นโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านในพื้นที่

มงคล สุวรรณศิริศิลป์ (ฟู)
มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท
ประชากรข้ามชาติ

ณรงค์ฤทธิ์ สีหาราช
มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.)
การพัฒนาชีวิตลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและแรงงานข้ามชาติ
ประชากรข้ามชาติ

ธัญยธรณ์ พงษ์ธรจิรพัชร (แจ๋)
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
- เพื่อยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์
- อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติในชุมชนมีศักยภาพ มีส่วนร่วมในการทำงานช่วยเหลือเพื่อนแรงงานต่างชาติในชุมชน
กลุ่มประชากรข้ามชาติและกลุ่ม Non-Thai
- การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องเอดส์และวัณโรค
- พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ ในชุมชนให้สามารถช่วยเหลือเพื่อนแรงงานและให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโครงการ ฯ

ฐิติยา สามารถ (ยะห์)
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
ต้องการเห็นนโยบายที่เหมาะสมเอื้อกับประชาชน/แรงงานข้ามชาติ
- รัฐจัดสรรงบประมาณให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ
- ภาครัฐรับขึ้นทะเบียน อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว (อสต.) ในจังหวัดชายแดนเข้าสู่ระบบได้รับสวัสดิการเหมือน อสม.ไทย
- แรงงานข้ามชาติ
- อาสาสมัครสาธารณสุข
- อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว
- ผู้นำชุมชนไทย
- ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับงานโครงการ งานด้านสุขภาพ เอดส์ วัณโรค โควิด เพื่อการลดการแพร่ระบาดของวัณโรค/โควิดในกลุ่มประชากร แรงงานข้ามชาติ
- ค้นหากลุ่มเสี่ยง คือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อHIV /เอดส์ วัณโรค โควิด
- ประสาน ส่งต่อ ให้เข้าสู่ระบบ สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- ดูแลติดตาม การกินยาผู้ป่วยวัณโรค
- รายงานข้อมูล เข้าระบบของภาครัฐ เช่น รพ. รพสต. สสอ. สสจ.
- พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว (อสต.) /แกนนำชุมชนและคนทำงาน
- ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ RRTTR

ธัญรัศม์ ขวัญพสุมนต์ (นาง)
โครงการมาลาเรีย “ไอโอเอ็ม สำนักงานแม่สอด“
ประชากรข้ามชาติ

ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว (แอ๋ว)
มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) สำนักงานกรุงเทพฯ
เยาวชนและแรงงานย้ายถิ่นในประเทศไทย แรงงานข้ามชาติและครอบครัวมีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีอนาคตที่ดี
- เยาวชนและแรงงานย้ายถิ่นภายในประเทศไทย
- แรงงานข้ามชาติและครอบครัวจากประเทศเพื่อนบ้าน
- งานจัดบริการให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นการจัดบริการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง (จัดตั้งศูนย์การเรียนสำหรับลูกแรงงานข้ามชาติ , ร่วมกับ กศน.เขตบางบอนจัดการศึกษาให้กับแรงงานไทย- ข้ามชาติ)
- งานพัฒนาพื้นที่รูปธรรม เป็นการพัฒนารูปแบบ แนวทาง การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา และสุขภาพ ที่เอื้อต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติและเด็กข้ามชาติ
- งานผลักดันเชิงนโยบายระดับพื้นที่ ประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อการส่งเสริมและผลักดันการจัดการศึกษาสำหรับเด็ก

ญาฎา จันทิชัย (แอน)
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
สนับสนุนให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวและครอบครัว ในประเทศไทย ให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ขณะที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย อาทิ เด็กควรได้รับการศึกษา แรงงานต่างด้าวควรได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง หรือสิทธิด้านอื่นๆ
แรงงานต่างด้าวและครอบครัว
- ชุมพร จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กข้ามชาติ สร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองต่างด้าวให้เห็นความสำคัญเรื่องการศึกษาของเด็กข้ามชาติ สนับสนุนให้เด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยได้รับการจดทะเบียนทุกรายเพื่อให้เด็กไม่ไร้รัฐ และเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพ และการศึกษา
- กทม. ส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวและครอบครัว ได้รับการคัดกรองวัณโรค เอชไอวีเอดส์ เชิงรุก ส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัย หากเป็นเข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิให้หายขาด โดยโรควัณโรค
- ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ RRTTR

นุชนารถ นาคขำ (นุช)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ
ประชากรข้ามชาติ

นภาภรณ์ แก้วศรีจันทร์ (มิน)
เด็กได้รับการศึกษา เรียนในโรงเรียนรัฐบาล
- เด็กนอกระบบ บุตรหลานแรงงานข้ามชาติ
- ผู้ปกครอง แรงงานข้ามชาติ
- แรงงานข้ามชาติ
- ปกากะญอ
- สำรวจข้อมูลเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนในชุมชน
- แนะนำ ให้ข้อมูล ให้เด็กได้เข้าเรียนใกล้บ้าน/ชุมชน
- ประสานส่งต่อให้เด็กเข้าเรียน
- ประสาน อำนวยความสะดวกในการเข้าเรียนของเด็ก
- สนับสนุนค่ารถ ค่าใช้จ่าย ชุดนักเรียน ชุดพละ ที่รัฐไม่ช่วยสนับสนุน
- ทำงานกับผู้ปกครอง ให้ความรู้ในการเข้าเรียนของบุตรหลาน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้เด็กเข้าเรียน/เรียน
- ทำงานทางความคิดกับครูและผู้บริหาร ในการสนับสนุนรับเด็กเข้าเรียน
- ผลักดันนโยบายการศึกษาเพื่อมวลชนทำงานกับ สพฐ.