ครั้งที่ 5 | การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม

การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นหัวข้อหลักในการจัดการอบรทในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ในครั้งนี้เองเนื้อหาถูกออกแบบให้พูดถึงชุดประสบการณ์ขบวนการเคลื่อนไหวในสังคมไทย ที่มีทั้งชุดบทเรียนความสำเร็จ และบทเรียนที่ล้มเหลว เพื่อจะได้เห็นบทสรุปงานเคลื่อนไหวในกรณีศึกษาต่างๆที่ผ่านมา โดยจัดขึ้นช่วงวันที่ 21-23 เมษายน 2560 ที่ สำนักกลางนักเรียนคริสเตรียน สะพานหัวช้าง  และได้เชิญวิทยากรมาร่วมแลกเปลี่ยน ใน 3 กรณีศึกษา เริ่มจาก บทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง โดยเชิญ คุณ ชาติวัฒน์ ร่วมสุข แกนนำสภาพองค์กรชุมชน อำนาจเจริญจัดการตนเอง มาร่วมแลกเปลี่ยนถึงชุดประสบการณ์ในการทำงาน เริ่มตั้งแต่การร่วมกลุ่ม และตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นมาผ่านกลไก สภาองค์กรชุมชน โดยเชื่อว่าประชาชนมีอำนาจในการจัดการตนเองได้ เชื่อในพลังหลังของประชาชน ต่อจากนั้นได้ชวน คุณ ประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเป็นที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) มาร่วมแลกเปลี่ยนในชุดประสบการณ์ การรวมกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ รวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีประเด็นร่วมในการขับเคลื่อนร่วมกัน มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบ กรณีสุดท้ายในกรณีศึกษาครั้งนี้คือ ยุทธศาสตร์ตระกูล ส. สู่การขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทย โดยเชิญ นพ. วิชัย โชควิวัฒน ผู้ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง การเปลี่ยนทั้งระบบ จะเห็นได้ว่า ขบวนการขับเคลื่อนทั้ง 3 กรณีศึกษามีความแตกต่างกันในเชิงวิธีการ แต่กลับมีเป้าหมายเดียวกัน และในครั้งนี้เองได้มีโอกาส เรียนรู้ กรอบแนวคิดพื้นฐานของการนำแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาใช้โดยเชิญ คุณ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการและสื่อมวลชน มาร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม

สิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้เห็นแนวคิดในการรวมกลุ่มจากกฐานล่าง การขยายกลุ่ม การกำหนด ยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหว ไปสู่อำนาจในการต่อรอง จนเกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิด สภากลาง ของจังหวัดอำนาจเจริญในการตัดสินใจร่วมกัน หลังจากนั้น ได้เรียนรู้บทเรียนการต่อสู้ของขบวนการภาคประชานชน สู่ขบวนการเคลื่อนไหวของ ขบวนการประชาชนเพื่อความเป็นธรรม ที่มีการนำเสนอกฎหมายภาคประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลี่ยมล้ำทางสังคม ตลอดจนบทเรียนที่สำคัญของขบวนการขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อย่างการกำเนิดของ องค์กร ตระกูล ส. จาก นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน การได้เห็นภาพการเคลื่อนงานและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของทั้ง 3 ขบวนในครั้ง ทำให้ผู้เข้าร่วมมองภาพการทำงานไดชัดขึ้น มองเห็นเหตุปัจจัยในการกำหนดยุทธศาสตร์ของแต่ละขบวน ในการคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อในไปสู่การออกแบบแผนงานร่วมกัน ของนักยุทธศาสตร์รุ่นใหม่