SDH 05 – การแทรกแซงทางนโยบายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
ทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพจากองค์การอนามัยโลกได้ให้แนวทางของการแทรกแซงทางนโยบาย การแก้ไขปัญหาในทางนโยบาย เพื่อที่จะนำไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพไว้อยู่ 4 ระดับ
ทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพจากองค์การอนามัยโลกได้ให้แนวทางของการแทรกแซงทางนโยบาย การแก้ไขปัญหาในทางนโยบาย เพื่อที่จะนำไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพไว้อยู่ 4 ระดับ
ในเรื่องของการสร้างการมีส่วนร่วมและการเพิ่มอำนาจของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่เสียเปรียบทางสังคม ทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ได้วางแนวทางการทำงานเอาไว้ 5 ระดับ
มันจะเป็นคำถามที่พวกเราจะมาช่วยกันหาคำตอบร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาคำตอบจากกลุ่มคนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจากกลุ่มคนจน-คนรวย คนมีโอกาส-คนด้อยโอกาส คนชายขอบ-คนที่อยู่ในกระแสหลัก คนที่มีอำนาจและคนที่ไม่มีอำนาจ คำตอบที่หลากหลายเหล่านี้มันนำมาสู่การประมวลผล นำมาสู่การสร้างความร่วมมือที่หลากหลาย
ที่มาหลักๆ ของวิธีคิดแบบโทษเหยื่อก็คือ การเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรม หมายความว่าถ้าเราทำดีเนี่ยเราก็ควรจะได้รับรางวัลนะ แต่ถ้าเราทำไม่ดี เราก็ควรได้รับการลงโทษ เอ๊ะ! ดูมันก็สมเหตุสมผลดี แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว การกระทำของเราเอง มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสิ่งต่างๆ อีกหลายปัจจัยที่แวดล้อมเราอยู่
ที่ยืนยาวกว่าคนที่เกิดในอีกประเทศหนึ่ง ปรากฏการณ์ของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพก็คือ การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตโดยไม่สมควรในประเทศต่างๆ
ปิดท้ายสำหรับชุดการเรียนรู้ฟาสามัญกับแนวคิดที่ออกจะต่างจากแนวคิดการสอนแบบอื่น ๆ สักหน่อย
นั่นคือฟาสามัญไม่เปลี่ยนแปลงใคร แนวคิดนี้ตั้งคำถามไปถึงคนที่จะเป็นฟา ว่ากำลังตกหลุมของการเป็นผู้ปลดปล่อยคนอื่น เป็นฮีโร่ ไอดอล ผู้นำใด ๆ ที่จะนำพาผู้คนสู่โลกใหม่ที่ดีกว่าอยู่หรือเปล่า?
และตั้งคำถามถึงผู้เข้าร่วมกระบวนการด้วยว่าตนเองคือองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้ฝากความหวังไว้ที่ใคร หากเราเองนี่แหละที่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงตนเองและสังคมให้เท่าเทียมเป็นธรรม
เรื่องราวของฟาสามัญในชุดการเรียนรู้นี้คงจบลงเท่านี้ก่อน ยังมีเรื่องราวอีกมากมายรอการขีดเขียนบันทึกไว้ด้วยมือของทุกท่านที่ติดตามกันมา
และบางครั้งก็ต้องใช้อำนาจเหนือด้วยแหล่งอำนาจที่ตนเองมีเพื่อหยุดความขัดแย้งนั้น แต่ทั้งสองทางต่างก็ทำให้วงไปต่อได้อย่างไม่ราบรื่น ฟาสามัญให้ความสำคัญกับการใช้อำนาจร่วม และอำนาจภายใน รวมทั้งการเสริมพลังอำนาจของวง ดังนั้น ฟาสามัญจะไม่ใช้อำนาจเหนือ และไม่หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง บางครั้งยังดึงเอาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ออกมาเพื่อร่วมกันจัดการไม่ให้เป็นอุปสรรคของวงหรือเพื่อเรียนรู้ประเด็นต่างๆให้ลึกขึ้น ฟาสามัญจึงมีวิธีการจัดการความขัดแย้งในวง ที่ส่งเสริมอำนาจร่วม อำนาจภายใน และเสริมพลังอำนาจให้แก่วงด้วย มาร่วมกันดูการจัดการความขัดแย้งในวงในแบบฉบับของฟาสามัญกันในฟาสามัญตอนที่ 14 กัน
ในการอบรมจะมีผู้เกี่ยวข้องในการตั้งเป้าหมายอยู่สามส่วนคือ ผู้จัดการอบรม ผู้เข้าร่วม และฟาฯ การอบรมแต่ละครั้งจึงต้องหาเป้าหมายที่สมดุลระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งสามส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือผู้เข้าร่วมอบรมที่เป็นผู้รับผลโดยตรงของการอบรม แม้ว่าโดยทั่วไปผู้เข้าอบรมมักจะไม่ได้รับอำนาจในการกำหนดเป้าหมายการอบรมนัก แต่ฟาสามัญที่เชื่อเรื่องการศึกษาของประชาชนจำเป็นต้องเคารพอำนาจในการกำหนดเป้าหมายของผู้เข้าร่วมการอบรมด้วย จากนั้นจึงมาช่วยกันแยกแยะเป้าหมายเป็นสามส่วน คือความรู้ ทัศนคติ และทักษะ เพื่อให้เห็นเนื้อหาการอบรม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งสามด้าน ฟาที่ทำหน้าที่ผู้ฝึก จึงไม่ได้มุ่งที่จะสอน แต่มุ่งไปที่การทำให้ผู้เข้าร่วมทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเข้าใจ มีความเชื่อ และมีทักษะ ในวิถีทางของตนเอง เหล่านี้ยืนอยู่บนหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจและความเท่าเทียมกัน
หลายครั้งที่เราเก็บเอาตัวอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาในตัวเยอะมากๆ เราก็จะจมอยู่กับตัวความรู้สึกนั้น ไม่สามารถที่จะอยู่กับวงได้มั่นคงมากพอ เราก็จะต้องมาเรียนรู้เรื่องการปลดปล่อยและการตั้งหลักกัน
เราอาจจะเคยพบกับพฤติกรรมต่างๆ ของคนในกลุ่มที่แตกต่างหลากหลายกันไป ซึ่งมันอาจจะมีคำอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆ ว่าอาจจะเกิดมาจากการเลี้ยงดู ประสบการณ์ในวัยเด็ก ความเป็นเพศ ความเป็นวัฒนธรรมต่างๆ หลากหลาย แต่ว่าแนวคิดเรื่องการกดขี่ในระดับจิตสำนึกเนี่ย มันเป็นการพยายามที่จะอธิบายพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ว่ามันมีผลมาจากการกดขี่ของสถาบันต่างๆ ในสังคมของเรา จนกระทั่งมันฝังเข้าไปอยู่ในระดับจิตสำนึกของพวกเรา