คณะผู้เขียนและเรียบเรียง:
- ศรินพร พุ่มมณี
- จำนง จิตรนิรัตน์
- นพพรรณ พรหมศรี
- มณีรัตน์ มิตรปราสาท
พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2560
โดย แผนงานเสริมสร้างศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ (นธส.)
สนับสนุนโดย
สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำหรับผู้สนใจหนังสือเล่มนี้ แผนงาน นธส. ได้ตั้งราคาบริจาคของหนังสือไว้
เล่มละ 150 บาทครับ + ค่าส่ง 50 บาท สนใจสามารถโอนเงินบริจาคมาได้ที่ หมายเลขบัญชี 408- 812525- 0 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ ประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี สมาคมนักขับเคลื่อนสังคมเพื่ อสร้างความเป็นธรรม เมื่อทำการโอนแล้วส่งหลั กฐานการโอนมาที่ ID LINE :0882691942 พร้อมแจ้งที่อยู่สำหรับการจัดส่ ง ทางทีมงานจะดำเนินการจัดส่งหนั งสือไปให้ตามที่อยู่ที่แจ้งมา
การจัดระบบชุมชน หรือ Community organizing
การจัดระบบชุมชนเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับ “การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ”
สำหรับคนทำงานชุมชน จะรู้ดีว่างานนี้เป็นงานหิน ดีไม่ดี จากการจะไปช่วยแก้ปัญหา อาจกลับกลายเป็นการสร้างภาระหรือเพิ่มปัญหาใหม่กับชุมชนโดยไม่รู้ตัว
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่จะสะท้อนให้เห็นวิธีการทำงานกับจากฐานล่างขึ้นไปข้างบน
แนวคิดความเชื่อสำคัญของคนทำงานที่ต้องทำงานเป็น “นักจัดระบบชุมชน”
นอกจากนี้ยังมีขั้นตอน วิธีการในการทำงาน รวมถึงกรณีศึกษา เพื่อเปิดประตูสู่ การทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากอย่างแท้จริง
ตัวอย่างบางตอนภายในเล่ม…
4.การรวมคน (Ground Work)
การทำงานในขั้นตอนนี้ หมายถึงการไปพบปะกับสมาชิกในชุมชนและพุดคุย กระตุ้นให้ทุกคนเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ในประเด็นที่เป็นผลกระทบกับทุกคนในชุมชน ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันมาแล้ว การทำงานในขั้นตอนนี้ อาจถูกมองว่าเป็นการก่อความวุ่นวาย สร้างความปั่นป่วนก็ได้ การพูดคุยเพื่อกระตุ้นให้คนเข้าร่วมควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่เป็นจริง แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่ถูกลิดรอน เรื่องของจริยธรรม ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนความละอาย หรือความโกรธ เป็นการทำงานเพื่อสร้างให้เกิดการเข้าร่วมแก้ปัญหาของคนในชุมชนให้มากที่สุด มีการแลกเปลี่ยนถึงเหตุผลในเชิงบวกและลบที่จำเป็นต้องแก้ไขประเด็นนั้นๆ โดยมีการเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสียของการร่วมมือกัน ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือ การสร้างแรงจูงใจมากกว่าการปลุกระดม ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการในการเสริมสร้างการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์ ก่อนแก้ปัญหา โดยสรุปเป็นสาระสำคัญดังนี้
- เพื่อสร้างความเข้าใจในรายละเอียดของปัญหาและวิธีแก้
- เพื่อให้ผู้ที่สนใจมีเวลาคิดไตร่ตรอง ในครอบครัวและระหว่างเพื่อนบ้าน
- เพื่อเป็นการสำรวจผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ
- เพื่อประเมินอารมณ์ความรู้สึกของชุมชน
- เพื่อเป็นการค้นหาผู้นำ
กรณีชุมชนลับแลมีเสียงแบบเอกฉันท์อยากทำศูนย์เด็กเล็ก เกตุแก้วชาวบ้านเชียร์ให้กลุ่มรถซุกทำโกดังรับซื้อขยะเอง จากกระแสเสียงวงเล็กๆกลุ่มย่อย เหล่านี้ นักจัดระบบชุมชน ต้องดำเนินการเชิงรุกโดยการเสนอกับทุกวง ให้เปิดการประชุมใหญ่ชุมชน โดยในขั้นนี้ อาจเสนอให้บางคนช่วยเตรียมที่ประชุม แบ่งกันกระจายข่าวนัดแนะวันเวลา เตรียมคนช่วยเขียนบันทึก เป็นต้น
นักจัดระบบชุมชนจะต้องชัดเจนอยู่ตลอดตั้งแต่เบื้องต้นที่ก้าวลงชุมชนแล้วว่า บทบาทเรา ไม่ใช่เป็นผู้มาหยิบยื่นทรัพยากรใดๆให้ชุมชน แต่เราให้ข้อมูล ตัวอย่าง ช่องทาง วิธีทำงาน การระดมศักยภาพต่างๆในชุมชน การริเริ่มโดยตัวเอง หรือร่วมกันเสาะหาจากภายนอก
สำหรับการเริ่มต้นเข้าหาคนนั้นควรต้องมีการคิดและวางแผนด้วยว่า จะเริ่มต้นที่ใครก่อน เพื่อจะได้กำลังจากคนอื่น ๆ ตามมา เช่น เริ่มจากคนที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ถ้าเริ่มจากแกนนำกลุ่มนี้อีกกลุ่มจะไม่ร่วมและเราจะเป็นเป้าถูกผลักให้เลือกข้าง อาจจะเริ่มทำงานกับกลุ่มเด็กก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ทั้งหมดเป็นผลการการศึกษาชุมชนจนรู้ความขัดแย้งและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ จึงจะกำหนดการทำงานได้”