กรอบวิเคราะห์เรื่องอำนาจ

(power analysis) 

อำนาจ 3 แบบ ได้แก่ อำนาจเหนือ อำนาจร่วม อำนาจภายใน และแหล่งที่มาของอำนาจ

ประเภทของการใช้อำนาจและแหล่งที่มาของอำนาจ

อำนาจเหนือ (Power Over) 

การที่บุคคล กลุ่มคน องค์กร สถาบัน หรือรัฐ ใช้แหล่งอำนาจที่ตนเองมีอยู่ เพื่อกดดัน โน้มน้าว ไม่ฟังเสียง ตัดสินใจเอง เช่น ครอบครัวไทย พ่อแม่มักเป็นเจ้าของ โน้มน้าว/ลงโทษลูก ระบบการศึกษา ครูใช้อำนาจเหนือ  และระบบอื่นๆ ในสังคมล้วนใช้อำนาจเหนือ ทั้งโรงพยาบาล/ระบบสาธรณสุข กระบวนการยุติธรรม ทหาร/ตำรวจ ฯลฯ เป็นวัฒนธรรมอำนาจนิยม เพราะถูกยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ไม่ผิด อนุญาตให้ใช้วัฒนธรรมนี้สืบทอดต่อๆ กันมา 

อำนาจร่วม (Power Sharing / Power With / Shared Power) 

การที่บุคคล กลุ่มคน องค์กร สถาบัน หรือรัฐ ใช้แหล่งอำนาจที่ตนเองมีอยู่ เพื่อการแบ่งปัน การเกื้อกูล การรับฟัง การปรึกษาหารือ ร่วมคิดตัดสินใจ ดูแลทุกข์สุข ให้อิสรภาพ ทำให้คนมีความสุข มีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น มีความมั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าในตัวเอง 

แหล่งที่มาของอำนาจ 

การศึกษา อายุ ฐานะเศรษฐกิจ อาชีพ เงิน ทรัพสิน ตำแหน่ง นามสกุล ครอบครัววงศ์ตระกูล สื่อ เทคโนโลยี ความสามารถ ศักยภาพ อาวุธ จำนวนคน บุคคลิกภาพ วัฒนธรรมประเพณี ทักษะการพูด เสียงดังเสียงเบา ชื่อเสียง ถิ่นที่อยู่ ข้อมูลคความรู้ คิดความเชื่อ ศาสนา ขนาดของร่างกาย สีผิว สัญชาติ สภาพร่างกาย ความสัมพันธ์ ภาวะสุขภาพ ชนชั้น ทรัพยากร องค์กร สถาบัน กฎหมาย กติกาขององค์กร กฏ ระเบียบ นโยบาย ความมั่นใจในตัวเอง สถานภาพสมรส โสด หม้าย เพศวิถี ประสบการณ์ชีวิต ประวัติบุคคล ประวัติศาสตร์ ความรู้สึก อุดมการณ์ กุมความลับ เครื่องแบบ สัญลักษณ์ พิธีกรรม วุฒิบัตร ใบรับรองทางสุขภาพ ภาษา ลำดับการเป็นลูก บทบาทในครอบครัว ฯลฯที่มาของอำนาจมีเยอะแต่เราต้องวิเคราะห์ให้แตก เรามีความคิดเรื่องวิเคราะห์อำนาจอยู่ตลอดเวลา เวลาเราฟังเรื่องแบ่งปันจากเพื่อนเวลาฟังอย่าวิเคราะห์ปัญหาเพื่อจะหาทางออก แต่ใช้แหล่งอำนาจมาดูว่าเพราะอะไรที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น เช่นไม่มั่นใจในตัวเองเพราะไม่มีอำนาจที่บ้าน ดูแหล่งที่มาที่ไปของแหล่งอำนาจ หรือเด็กที่มักจะโกหกเพราะเขาไม่สามารถพูดความจริงได้อาจพูดแล้วโดนพ่อแม่ลงโทษ เมื่อพูดความจริงไม่ได้จึงกลายเป็นคนที่สร้างแพทเทิร์นให้คนอื่นยอมรับเพื่อให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัย

“มนุษย์แต่ละคนที่อยู่ในโลกนี้ ในห้องนี้ ในสังคมมีแหล่งอำนาจไม่เท่ากันสักคน”

อำนาจภายใน (Power Within)  

คือแหล่งอำนาจอย่างหนึ่ง หมายถึงศักยภาพ ความสามารถที่มีอยู่ในตัวคนคนนั้นหรือกลุ่มคนต่างๆ ที่นำไปใช้ในการรับมือกับปัญหาอุปสรรค ความเครียด ความกลัว การกดขี่ อำนาจ ความรุนแรง ความไม่เป็นธรรม โดยนำอำนาจภายในที่แต่ละคนมีมาใช้รับมือหรือเผชิญกับสถานการณ์นั้นๆ ด้วยสันติวิธี

อำนาจภายใน ได้แก่ ความกล้า /การใช้สติในการหาทางออก/ ความรักในความเป็นธรรม/ ความยุติธรรม /จริยธรรม/ ความรักและเคารพในตัวเอง/ ความเชื่อมั่น/ ความมั่นใจในตนเอง/ ความรัก/ ความเพียร/ ความเมตตา/ ความมุ่งมั่น/ ความเข้มแข็ง/ ความอ่อนโยน/ ความไม่สยบยอมต่อความไม่เป็นธรรม/ ภาวะผู้นำ/ ความรอบคอบ/ การใช้เหตุผล/ การใช้สติปัญญา/ ความซื่อสัตย์จริงใจ/ ความอดทนอดกลั้น/ ความคิดสร้างสรรค์/ การปล่อยวาง/ การให้อภัย/ ความรับผิดชอบ/ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น/ ความเบิกบานยินดี/ ความเสียสละ/ ความไว้วางใจในกันและกัน/ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นต้น 

การใช้อำนาจเหนือจะลดทอนอำนาจภายในของผู้ถูกใช้อำนาจ กลับกันการใช้อำนาจร่วมจะช่วยฟื้นฟูและเพิ่มพูนอำนาจภายในให้ผู้ถูกใช้อำนาจ