แนวทางการทำงานขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ
สวัสดีครับ เรามาคบกันกับชุดเรียนรู้ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ และความเป็นธรรมทางสุขภาพกันอีกครั้งนะครับ
ในคลิปนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการทำงานของการที่จะขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพกัน
ในเรื่องของการสร้างการมีส่วนร่วมและการเพิ่มอำนาจของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่เสียเปรียบทางสังคม ทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ได้วางแนวทางการทำงานเอาไว้ 5 ระดับ
1. การให้ข้อมูลข่าวสาร
ในระดับแรกเลยก็คือการให้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสุขภาพในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนและรอบด้านแก่ประชาชน
ก็คือให้ประชาชนเนี่ยได้รับรู้ว่ามีอะไรกำลังเป็นปัญหาอยู่ มันมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อะไรจะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาบ้าง เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสได้ตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและรอบด้านนั้นได้
2. การให้คำปรึกษาแก่ชุมชน
ในระดับที่ 2 มันก็จะลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง ก็คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเนี่ยนะครับก็เป็นการให้คำปรึกษาแก่ชุมชน นั่นหมายความว่าอาจจะรับฟังปัญหาของชุมชนมาก่อนว่าเขากำลังเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา แล้วเราก็พยายามที่จะแก้ปัญหาตามที่ชุมชนได้มองเห็นได้มาขอคำปรึกษาเพื่อที่จะให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปที่ตัวชุมชนหรือว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพได้ตรงจุดมากที่สุด ซึ่งมันก็จะลึกกว่าขั้นแรกที่เป็นการเผยแพร่แบบกว้างๆ
3. การทำงานร่วมกัน
ในระดับที่ 3 ของการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็คือในระดับของการทำงานร่วมกัน ก็คือในระดับที่ 1 ระดับที่ 2 เนี่ยอาจจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเนี่ยเป็นผู้ให้ข้อมูล หรือว่าเป็นคนที่ให้คำปรึกษา แต่ว่าในระดับที่ 3 นี้ก็คือเป็นการทำงานร่วมกัน นั่นหมายความว่ามันจะต้องมีการพูดคุยฟังและตัดสินใจร่วมกันกับชุมชนหรือว่ากลุ่มคนที่ได้รับปัญหานั้นๆ เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายเนี่ยจะเริ่มเท่าเทียมกันแล้วในการที่จะมามองปัญหาร่วมกัน วิเคราะห์ร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันในการแก้ปัญหาของชุมชน
4. การประสานร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ
ระดับที่ 4 เนี่ยนะครับก็จะเป็นระดับของการประสานร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ละ หลังจากที่เราทำงานร่วมกันกับชุมชนหรือว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพเนี่ยเราก็จะนำไปสู่ขั้นตอนถัดมาก็คือขั้นตอนของการที่เราเริ่มจะเชื่อมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น หรือเชื่อมกับกลุ่มคนอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายๆ กันมากขึ้น เพื่อมองให้เห็นตัวแบบแผนที่มันกว้างขึ้น มองให้เห็นโอกาสความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น เราอาจจะสร้างการร่วมมือข้ามชนชั้น ข้ามฝ่ายงาน
นักวิชาการอาจจะไปร่วมมือกับคนชายขอบ คนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอาจจะไปร่วมมือกับคนที่ทำงานด้านวัฒนธรรม มีการประสานงานจากหลายๆ ฝ่ายขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ
5. การเพิ่มอำนาจให้กับภาคประชาชน
ในระดับสุดท้ายซึ่งเป็นระดับสูงสุดก็คือ การเพิ่มอำนาจให้กับภาคประชาชน การ การสร้างการมีส่วนร่วมมันจะไม่ใช่เพียงแค่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบแล้วก็ไปให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว แต่มันคือการมีส่วนร่วมร่วมกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า มันจะต้องให้ภาคประชาชนหรือกลุ่มคนเจ้าของปัญหา เป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นหลัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตัดสินใจในเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาวะของกลุ่มคนเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนเนี่ยนะครับไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการโยนภาระความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ เช่น รัฐโยนความรับผิดชอบให้แก่ประชาชนในการดูแลกันเอง หรือว่าหน่วยงานทางสาธารณสุขโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ดูแลสุขภาพของตัวเอง
แต่มันหมายถึงการให้อำนาจในการตัดสินใจในเชิงนโยบายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการตัดสินใจที่จะใช้งบประมาณไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเลือกกลุ่มคนที่จำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือการเลือกทิศทางของการพัฒนาหมู่บ้าน การเลือกทิศทางของการพัฒนาประเทศ ต้องให้ประชาชนนี้เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นหลัก ซึ่งในส่วนสุดท้ายของการเพิ่มอำนาจของภาคประชาชนเนี่ยนะครับทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพขององค์การอนามัยโลกเนี่ยก็บอกว่า มันมีแนวทางของการเพิ่มอำนาจของประชาชน 5 ระดับเช่นกัน
5.1 สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน
ในระดับแรก เราจะต้องช่วยกันสร้างระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนก่อนหมายความว่าจะต้องพยายามที่จะสร้างปัจจัย 4 ให้เพียบพร้อม ให้อยู่ในระดับที่ประชาชนเนี่ยสามารถที่จะมีความมั่นคงในชีวิตในระดับหนึ่งได้ อาจจะมีความมั่นคงทางอาหาร การศึกษาที่เพียงพอ อาจจะมีปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตที่มากเพียงพอ เพื่อไม่ให้ประชาชนเนี้ยตกอยู่ในภาวะที่ดิ้นรนเพียงเพื่อตัวเองจะมีชีวิตรอดอยู่เท่านั้น มันจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจมากขึ้นในการที่จะไปคิดเรื่องอื่นๆ ได้
5.2 โอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
และแน่นอน การที่เราให้สิทธิ ให้ปัจจัยพื้นฐานเนี่ย อาจจะยังไม่เพียงพอมันจึงต้องมีระดับที่ 2 ด้วย ระดับที่ 2 เนี่ยมันพูดถึงโอกาสในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานด้วย
ยกตัวอย่างเช่น บางทีเนี่ยเราอาจจะมีโรงพยาบาลแล้ว มีสิทธิ์ในการประกันสุขภาพแล้วหรือว่าเรามีสวนสาธารณะแล้ว เรามีโรงเรียนแล้ว ต่างๆ เหล่านี้นะครับ แต่ว่ามันต้องไปคำนึงถึงด้วยว่าการมีสิ่งต่างๆ ทางกายภาพเหล่านี้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิเหล่านี้ได้หรือเปล่า
สามารถเข้าใช้บริการเหล่านี้ได้หรือเปล่า อาจจะต้องคำนึงถึงโอกาสในการเข้าถึงของเขา เช่น การเดินทางสะดวกไหม ระยะเวลาการให้บริการที่ใช้เวลามากเกินไปหรือเปล่าที่ทำให้เขาจำเป็นต้องหยุดงานถึงจะมาเข้ารับการบริการได้ หรือว่าคำนึงถึงค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจอื่นๆ ค่าใช้จ่ายทางวัฒนธรรม ค่าใช้จ่ายทางการเมืองอื่นๆ เพื่อใช้ในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการเหล่านี้
5.3 เพิ่มพลังการวิเคราะห์ปัญหา
ในระดับที่ 3 นอกจากได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานและก็ได้มีโอกาสในการเข้าถึงบริการต่างๆ แล้วนะครับ การเพิ่มอำนาจของประชาชนเนี่ย จำเป็นที่จะต้องเพิ่มพลังการวิเคราะห์ปัญหาด้วย เป็นระดับของการตระหนักรู้ถึงปัญหา กลุ่มคนที่เป็นเจ้าของปัญหาแล้วก็ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องมีอำนาจในการวิเคราะห์ปัญหาว่า สิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น ไม่ใช่เพียงปัญหาของกรรมเก่า ไม่ใช่เพียงปัญหาของระดับตัวบุคคลเท่านั้น แต่ว่าได้รับรู้ด้วยว่านี่มันคือปัญหาเชิงนโยบาย นี่มันคือปัญหาทางความสัมพันธ์ทางอำนาจที่มันไม่เท่าเทียม มันไม่ยุติธรรม ได้เห็นภาพรวมของปัญหาว่ามันเกี่ยวโยงกับเรื่องไหนบ้าง มันเกี่ยวโยงกับหน่วยงานไหนบ้าง มันเกี่ยวโยงกับปัญหาตรงไหนบ้าง เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมตรงไหนบ้าง เป็นต้น
5.4 เข้าร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ในระดับที่ 4 ของการเพิ่มอำนาจของประชาชนเนี่ยนะครับ มันคือระดับของการเข้าร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมา เป็นระดับที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายทั้งหลายของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครั้งแรกกับชุมชน ในระดับจังหวัด ในระดับประเทศก็ตาม ในระดับนี้เนี่ยอาจจะจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับหลายๆ ฝ่าย เป็นระดับของการเรียกร้องการตัดสินใจร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องของการใช้งบประมาณ ในเรื่องของการตัดสินใจว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรของหน่วยงานต่างๆ
5.5 ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจ
สุดท้าย การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับสูงสุดก็คือประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของตัวเองได้ สามารถตัดสินใจได้ว่าเขาจะเลือกกินอะไรหรือไม่กินอะไรโดยที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเศรษฐกิจ ไม่ถูกจำกัดด้วยวัฒนธรรม ไม่ถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมของเมือง ของประเทศ ในระดับนี้ มันจึงเป็นระดับของการที่ประชาชนมีอำนาจที่จะจัดการตัวเองในทุกมิติได้
สรุป
เราจะเห็นได้ว่าเส้นทางของการไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยนะครับ มันต้องเริ่มจากกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งมันต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆ ฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นตัวเจ้าของปัญหาเอง และหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบกับเรื่องนั้นๆ โดยตรง ต้องมีความร่วมมือกันเป็นอย่างมากในขณะที่กลุ่มคนที่เป็นเจ้าของปัญหามักจะมีอำนาจที่ค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว เราจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจที่จะให้อำนาจกับภาคประชาชนในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จนกระทั่งสามารถที่จะควบคุมดูแลและมีอำนาจในการจัดการชีวิตของตัวเองได้เต็มที่
เมื่อถึงเวลานั้นเนี่ยมันถึงจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสุขภาพขึ้นมาได้จริงๆโดยที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมแล้วก็จัดการวิถีชีวิตของตัวเอง เพื่อให้สังคมของเราเนี่ยเป็นสังคมที่มีความเป็นธรรมทางสุขภาพในที่สุด