การแทรกแซงทางนโยบายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
ทางคณะกรรมการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพจากองค์การอนามัยโลกได้ให้แนวทางของการแทรกแซงทางนโยบาย การแก้ไขปัญหาในทางนโยบาย เพื่อที่จะนำไปสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพไว้อยู่ 4 ระดับ
นโยบายเพื่อแก้ปัญหาในระดับบุคคล
ระดับแรกเลยของการแทรกแซงทางนโยบายเนี่ยเราสามารถที่จะเสนอนโยบาย เราสามารถที่จะจัดทำนโยบายเพื่อแก้ปัญหาในระดับบุคคลได้ ซึ่งการแก้ปัญหาในระดับบุคคลก็คือมันจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นเลย การบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นของกลุ่มคนที่เสียเปรียบทางสังคม เสียเปรียบทางสุขภาพ
ยกตัวอย่างเช่นการจัดบริการทางสุขภาพให้แก่กลุ่มคนไร้บ้าน อาจจะจัดรถคลินิก จัดรถพยาบาลไปตรวจโรค ไปช่วยเยียวยารักษาในเบื้องต้นสำหรับกลุ่มคนไร้บ้านในสถานที่ต่างๆ
หรือว่าการจัดเลี้ยงกลุ่มคนไร้บ้าน การให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือว่าบริการตรวจสุขภาพให้แก่คนพิการตามบ้านอย่างนี้เป็นต้น คือแทนที่จะปล่อยให้คนไร้บ้านหรือว่าคนพิการหรือว่ากลุ่มคนเสียเปรียบอื่นๆ ทางสังคมเนี่ย จะต้องเข้าไปหาคลินิก ไปหาการบริการทางสาธารณสุขเอง เราก็สามารถที่จะจัดบริการนี้ให้เข้าถึงกลุ่มคนเหล่านั้นเพื่อให้เข้าถึงโอกาสในการบริการทางสุขภาพได้ อย่างนี้เป็นต้น มันคือมุ่งไปที่ตัวบุคคลไปเลย นะครับนี่เป็นลำดับแรก ซึ่งมันสามารถที่จะมีนโยบายอย่างนี้จากทางรัฐหรือว่าจากหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
นโยบายเพื่อแก้ปัญหาระดับชุมชนหรือกลุ่มคน
ในระดับที่ 2 เป็นระดับของชุมชน ในระดับที่พูดถึงชุมชน พูดถึงกลุ่มคน กลุ่มเฉพาะบางกลุ่มที่มีปัญหาคล้ายๆ กันเนี่ย เราก็สามารถที่จะมีนโยบายที่จะช่วยกลุ่มคนเหล่านี้ได้
ยกอย่างเช่น การทำครัวชุมชน ในช่วงสถานการณ์โควิคที่คนไม่สามารถที่จะไปหาอาหารได้ หรือไม่มีงานทำ หรือว่ายุ่งยากในการเดินทาง เราสามารถที่จะจัดตั้งครัวชุมชนขึ้นมาได้นะครับ เพื่อให้ทุกๆ คนได้มีอาหารกิน เป็นเฉพาะสำหรับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือนี้โดยเฉพาะ
หรือว่าการมีคลินิกกลางคืนสำหรับคนที่ไม่สะดวกที่จะใช้บริการคลินิกในตอนกลางวัน ด้วยเหตุปัจจัยจากงาน จากการเดินทาง หรืออะไรก็แล้วแต่
หรือแม้แต่การเปิดคลินิกหรือว่าหน่วยงานบริการที่มุ่งไปที่คนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีความเปราะบาง มีความเฉพาะมากกว่ากลุ่มทั่วไป
นโยบายสาธารณะ
ระดับที่ 3 เป็นระดับของนโยบายสาธารณะที่มันจะครอบคลุมคนหลายๆ กลุ่มมากขึ้น เป็นการบริการขั้นพื้นฐาน ที่ทุกๆ คนในสังคมก็จะมีโอกาสที่จะได้ใช้บริการเหล่านี้ เพื่อเข้าถึงปัจจัยทางสุขภาพในขั้นพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น การมีห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกๆ คน ซึ่งคนไร้บ้านก็เข้าไปใช้ได้ คนพิการก็เข้าไปใช้ได้ หรือว่าแม้แต่คนทำงานทั่วๆ ไปก็สามารถที่จะเข้าไปใช้ได้ เป็นเมืองที่มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับทุกๆ คน
หรือว่าการมีบริการทางเดิน หรือว่าการขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ คนที่ไม่สะดวกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะที่มันออกแบบสำหรับคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เราสามารถที่จะสร้างนโยบายที่จะทำให้การขนส่งสาธารณะเนี่ย มันเหมาะสำหรับทุกๆ คนได้ ไม่ว่าจะเป็นคนเจ็บคนป่วยหรือว่าคนพิการก็แล้วแต่
หรือแม้แต่บริการสาธารณะที่มุ่งไปที่กลุ่มผู้หญิงที่มีความเปราะบางในเรื่องของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
นโยบายระดับโครงสร้าง
ในระดับสุดท้ายก็จะเป็นราคาที่ค่อนข้างยากไปกว่านั้น ก็คือในระดับของโครงสร้าง ในระดับของโครงสร้างมันจะพูดถึงเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พูดถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้วย ยกตัวอย่างเช่น นโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ หรือว่าค่าแรงที่เหมาะสมสำหรับการที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี นโยบายประกันการว่างงาน นโยบายความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งสำหรับทุกๆ คนเนี่ยเราจำเป็นที่จะต้องมีความปลอดภัยในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นงานที่ก็ต้องไปเผชิญกับความเสี่ยงด้วยตัวของตัวเอง
เราสามารถที่จะออกแบบสถานที่ทำงานที่เหมาะสมกับทุกๆ คนได้ เราสามารถที่จะออกแบบสถานที่ทำงานที่ปลอดมลพิษ หรือว่าลดอุบัติเหตุ หรือว่าส่งเสริมสุขภาพของคนทำงานในนั้นได้
หรือว่านโยบายอื่นๆ นะครับที่เป็นหลักประกันให้แก่ชีวิตของทุกๆ คนถ้วนหน้า โดยที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของระบบของการสงเคราะห์อย่างเดียว หรือว่าจำเป็นที่จะต้องมาพิสูจน์ความจน ยกตัวอย่างเช่นโครงการบำนาญถ้วนหน้า หมายถึงว่า ทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบหรือแรงงานนอกระบบก็ต้องสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ถึงแม้ว่าจะเกษียณอายุไปแล้วก็ตาม ไม่สามารถที่จะทำงานต่อไปในช่วงอายุแบบนั้นนะครับ เราก็จะมีเงินบำนาญ ที่สามารถที่ทำให้เขาสามารถเลี้ยงชีวิตได้
มีนโยบายการออม ส่งเสริมการออมให้กับทุกๆ คนในสังคม ไม่เพียงแต่จะเป็นระบบประกันสังคมเท่านั้น ซึ่งระบบประกันสังคมเนี่ยก็อาจจะมุ่งไปที่ตัวแรงงานในระบบอย่างเดียว แต่เราสามารถที่จะออกแบบนโยบายที่จะทำให้ระบบประกันสังคมเนี่ยสามารถครอบคลุมกับแรงงานนอกระบบได้นะครับ ก็คือคนที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีนายจ้าง แต่ว่าเป็นแรงงานอิสระทั่วๆ ไป แรงงานในภาคเกษตร หรือว่าแรงงานอื่นๆ ที่ไม่ได้มีนายจ้างชัดเจนก็สามารถที่จะเข้าสู่ระบบการออมของสังคมได้
สรุป
นโยบายเหล่านี้จะเป็นนโยบายที่มาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ลดโอกาสในการสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการที่เขาเนี่ยด้อยโอกาสทางสังคมได้ ซึ่งนโยบายต่างๆ เนี่ยนะครับมันจะมุ่งไปที่การดูแลปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เพียงแค่โยนภาระให้แก่คนใดคนหนึ่งนะครับที่จะต้องพยายามที่จะขยัน พยายามที่จะทำตัวดี พยายามที่จะรักษาสุขภาพเพียงลำพังอย่างเดียว
แต่ว่าสังคมทั้งหมดเนี่ยสามารถที่จะช่วยกัน เริ่มตั้งแต่การสงเคราะห์ เริ่มตั้งแต่การช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม เริ่มตั้งแต่การสร้างนโยบายสาธารณะและนำไปสู่ขั้นสุดท้ายก็คือการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีหลักการพื้นฐานสำหรับการแทรกแซงทางนโยบายด้วยนะครับ เริ่มตั้งแต่การที่เราจะต้องฟังเสียงคนขายขอบ ฟังเสียงของคนที่เสียเปรียบ ฟังเสียงของคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อจะให้เขาสามารถบอกปัญหาที่แท้จริงของเขาออกมาได้ว่า สิ่งที่เขาเผชิญอยู่นั้นมันเป็นเรื่องอะไร
นอกจากนั้นเนี่ยยังจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความร่วมมือข้ามภาคส่วนต่างๆ ไม่เพียงเฉพาะให้คนที่เป็นเจ้าของปัญหาต้องดิ้นรนเฉพาะตัวเองอย่างเดียว หรือปล่อยให้หน่วยงานที่ดูเหมือนจะมีความรับผิดชอบโดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบ
แต่มันคือการสร้างความร่วมมือข้ามภาคส่วนให้มากที่สุด เพื่อที่จะมองเห็นปัญหาและระดมความร่วมมือความเชี่ยวชาญของแต่ละส่วนเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านั้นร่วมกัน
และสุดท้ายก็คือการเพิ่มอำนาจคนชายขอบ เพิ่มอำนาจให้กับกลุ่มคนที่เสียเปรียบให้กล้าให้สามารถลุกขึ้นมาพูดถึงปัญหาตัวเองได้ เพราะว่าบางทีเนี่ยเราอาจจะบอกว่าเราฟังเสียงของคนชายขอบแล้ว แต่ว่าคนชายขอบก็ไม่กล้าพูด เราสามารถที่จะเพิ่มอำนาจให้แก่เขา เพื่อให้เขาวิเคราะห์เป็น พูดเป็น กล้านำเสนอปัญหาของตัวเอง แล้วก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาของตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มองโทษตัวเองว่าเป็นเพราะความจนฉันจึงเป็นเช่นนี้ แต่ว่าเราเพื่ออำนาจให้กับเขา ให้เขากล้าที่จะพูดออกมา กล้าที่จะวิเคราะห์ และกล้าที่จะเข้าร่วมในการขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นธรรมไปด้วยกัน
มันก็จะนำไปสู่การแทรกแซงทางนโยบายที่มันเกิดจากความร่วมมือระหว่างตัวเจ้าของปัญหา หน่วยงานที่รับผิดชอบและคนอื่นๆ ในสังคม ที่จะมาร่วมกันสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพร่วมกัน