ฟาสามัญ ep.14
การจัดการความขัดแย้งในระหว่างจัดกระบวนการกลุ่ม

เรื่องที่น่ากังวลใจสำหรับคนที่ทำหน้าที่ฟาใหม่ๆ ก็คือไม่รู้จะทำอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในวง หลายครั้งจำต้องหลีกหนี และบางครั้งก็ต้องใช้อำนาจเหนือด้วยแหล่งอำนาจที่ตนเองมีเพื่อหยุดความขัดแย้งนั้น แต่ทั้งสองทางต่างก็ทำให้วงไปต่อได้อย่างไม่ราบรื่น ฟาสามัญให้ความสำคัญกับการใช้อำนาจร่วม และอำนาจภายใน รวมทั้งการเสริมพลังอำนาจของวง ดังนั้น ฟาสามัญจะไม่ใช้อำนาจเหนือ และไม่หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง บางครั้งยังดึงเอาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ออกมาเพื่อร่วมกันจัดการไม่ให้เป็นอุปสรรคของวงหรือเพื่อเรียนรู้ประเด็นต่างๆให้ลึกขึ้น ฟาสามัญจึงมีวิธีการจัดการความขัดแย้งในวง ที่ส่งเสริมอำนาจร่วม อำนาจภายใน และเสริมพลังอำนาจให้แก่วงด้วย มาร่วมกันดูการจัดการความขัดแย้งในวงในแบบฉบับของฟาสามัญกันในฟาสามัญตอนที่ 14 กัน


สวัสดีครับเรามาพบกันอีกครั้งนะครับสำหรับคลิปฟาสามัญออนไลน์ ในคลิปนี้ เราจะมาคุยกันในเรื่องของการจัดการความขัดแย้งในวงฉบับฟาสามัญ

คือในการทำงานกลุ่ม ในการจัดกระบวนการกลุ่ม ในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มเราทำงานกับกลุ่ม เราทำงานกับกลุ่มคนที่มันหลากหลาย มากมาย เราจะพบว่ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราจะพบกับความขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่มกันเอง ความคิดเห็นแตกต่างกัน บุคคลิกแตกต่างกัน วิธีการทำงานแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ

ซึ่งในหลายๆ  ครั้งเนี่ย ฟาหลายคนก็จะมีความกังวลมากในเรื่องของการจัดการความขัดแย้งกันในวง ไม่รู้ว่าจะจัดการกับความขัดแย้งของคนในวงได้อย่างไร

วันนี้เราก็จะมาดูหลักการเบื้องต้นในการจัดการความขัดแย้งในฐานะที่เรากำลังเอื้ออำนวยกลุ่มอยู่

1. ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ

หลักการข้อแรกเลยที่เราจะต้องใช้ในการจัดการความขัดแย้งก็คือ ให้เรามองก่อนว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ คือเราต้องยอมรับก่อนว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ มันเกิดขึ้นมาได้ทุกวัน ตลอดเวลา กับใครก็ได้ ในเมื่อเรามีความแตกต่างหลากหลายกัน เรามีจุดยืนแตกต่างกัน เรามีมุมมองแตกต่างกัน มีคุณค่าแตกต่างกัน มันก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุดอยู่ดี เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ไม่ปกติก็คือเราจะจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร ดังนั้นในเบื้องต้นเรายอมรับให้ได้ก่อนว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นปกติธรรมดา และเราจัดการมันได้ เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่เป็นกังวลมากเกินไปเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในวง

2. ตั้งหลัก

หลังจากที่เรายอมรับได้แล้วว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ อันที่ 2 ก็คือเราต้องกลับมาตั้งหลักให้ได้ก่อน ไม่ถูกอารมณ์มันเข้มข้นเวลาที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในวงพัดพาไป หรือไม่ถูกความวุ่นวายใช่ประเด็นต่างๆ มันโผล่ขึ้นมาเยอะแยะมากมาย มีหลายคนหลายฝ่ายเกิดขึ้นเยอะแยะ เราก็จะเป็นกังวลรู้สึกวุ่นวาย รู้สึกอึดอัด จมอยู่กับความรู้สึก เราต้องกลับมาตั้งหลักนะครับที่เราได้พูดกันในคลิปที่แล้ว กลับมาตั้งหลักให้ได้ก่อนแล้วเราก็จะได้จัดการกับความขัดแย้งในวงเหล่านั้นได้อย่างนิ่งสงบและสามารถที่จะเป็นกลาง ชวนให้ทุกคนเข้ามาดูความขัดแย้งนี้ร่วมกันในวงได้

3. ฟัง

เรื่องที่ 3 ก็คือ เราจะต้องฟัง เรื่องการฟังนี่เราก็ได้พูดกันไปแล้วนะครับ ก็คือว่ามีความขัดแย้งเนี่ยนะครับ คู่ขัดแย้งมักจะอยู่กับจุดยืนของตัวเอง อยู่กับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง จนกระทั่งละเลยที่จะทำความเข้าใจจุดยืน ข้อเท็จจริง หรือว่ามุมมองของคู่กรณี ดังนั้น อย่างน้อยในวงต้องมีคนใดคนหนึ่งที่เป็นผู้ฟัง ถ้าเกิดคู่กรณียังไม่พร้อมที่จะฟังกัน ฟานี่แหละเป็นหนึ่งคนที่จะต้องฟัง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขา รับรู้มุมมอง รับรู้ข้อเท็จจริงของเขาอย่างจริงๆ จังๆ อย่างตั้งใจ และนำไปสู่การจับประเด็นได้ด้วยว่า เขากำลังต้องการที่จะสื่อสารอะไรออกมา

4. รับรู้

หลังจากฟาฟังแล้วนะครับก็เข้าสู่ขั้นตอนที่ 4  ก็คือทำให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้กันและกัน ได้ยินกันและกัน บางทีตอนช่วงระหว่างนั้นน่ะที่มีการพูดคุยถกเถียงกันเนี่ย เขาอาจจะไม่ได้ยินกันเลยก็ได้ แต่เมื่อฟาฟังแล้ว ได้ยินแล้ว ฟาอาจจะเป็นผู้ที่ช่วยพูด ช่วยสื่อสารให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ยิน ซึ่งทักษะในช่วงนี้ ก็จะเป็นทีกษะที่มันสำคัญอีกอันหนึ่ง ก็คือทักษะการทวนคำพูด ที่เราได้พูดกันไปแล้วเช่นกันนะครับ ทำให้อีกฝ่ายได้รับรู้ประเด็น ข้อเท็จจริง มุมมอง อารมณ์ความรู้สึกของกันและกัน โดยฟาช่วยทวนคำพูดของอีกฝ่ายให้อีกคู่กรณีฟัง

5. ตอบสนอง

ส่วนที่ 5 คือส่วนของการตอบสนอง ฟาจะต้องช่วยทำให้คู่กรณีเนี่ย ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีปฏิกิริยาอย่างไร ให้เขารู้ว่าการเกิดความขัดแย้งครั้งนี้มันทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น ทะเลาะกันเรื่องนี้แล้วเนี่ยมันทำให้คู่กรณีเนี่ยรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกเสียใจ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกหงุดหงิดโมโหที่เกิดความขัดแย้งแบบนี้ขึ้น คือทำให้อีกฝ่ายได้รู้ว่าการที่เขากระทำเช่นนี้มันเกิดอะไรขึ้น ได้รับรู้ว่ามันมีปฏิกริยาเกิดขึ้นจริงๆ นะจากพฤติกรรมของตัวเขาเอง ได้รับรู้ว่ามันมีการตอบสนองอย่างไร ซึ่งในช่วงนี้นะครับ ฟาอาจจะขอให้วงเนี่ยได้ช่วยเล่าปฏิกริยาที่เขาตอบสนองต่อความขัดแย้งครั้งนี้ด้วยก็ได้

เช่น มันทำให้เขารู้สึกอะไร หรือทำให้เขามีพฤติกรรมอย่างไรกับความขัดแย้งที่มันเกิดขึ้น เพื่อให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ว่า สิ่งที่เขาแสดงพฤติกรรมออกมา หรือมีความรู้สึกออกมา มันส่งผลอะไรต่อทั้งคู่กรณีแล้วก็ต่อวงบ้าง เพื่อให้นำไปสู่การทำให้ความขัดแย้งมันไปสู่ระดับของวง วงก็จะได้เข้ามาช่วยกันจัดการความขัดแย้งนี้ได้ด้วย ไม่ปล่อยให้เป็นเพียงแค่ความขัดแย้งในระดับบุคคลสองคนเท่านั้น

เพราะว่ามุมมองในเรื่องความขัดแย้งในหลักการของฟาสามัญก็คือ ความขัดแย้งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นเนี่ยมันส่งผลต่อวง แล้ววงก็คือทีมเดียวกัน แล้วการที่เราเป็นทีมเดียวกันนั่นหมายความว่าเราจะต้องช่วยกันในการจัดการปัญหาความขัดแย้ง เพื่อมันจะได้ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการไปสู่เป้าหมายที่เราวางไว้ร่วมกันตั้งแต่ต้น แต่ว่าในขั้นตอนนี้นะครับ เราก็ต้องระมัดระวังด้วยเหมือนกันว่า การเติมมุมมอง เติมความรู้สึกของคนในวงเข้าไปเนี่ย จะต้องไม่นำไปสู่การเพิ่มความขัดแย้งหรือว่าคู่กรณีอื่นเพิ่มด้วย ซึ่งฟาเองก็ต้องพยายามที่จะจำกัดขอบเขตหล่านี้ให้ได้

6. เติมมุมมอง

ในขั้นตอนสุดท้าย ก็คือขั้นตอนของการเติมมุมมองเข้าไป คือเมื่อฟาฟังอย่างตั้งใจ สะท้อน ทวนคำพูดโดยที่ไม่ตัดสินและสามารถที่จะเป็นตัวกลางระหว่างคู่กรณีที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ยินกันและกัน อย่างเท่าเทียม อย่างยุติธรรม  ฟาจะดำรงสถานะที่เป็นกลางในกรณีนี้ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าฟาก็จะช่วยในการแยกแยะประเด็นได้ ก็จะเป็นการเติมมุมมองของฟาเข้าไป ก็คือฟาจะทำหน้าที่ช่วยทำให้คู่กรณีและวงเนี่ยมองเห็นว่า ความขัดแย้งเนี่ยมันมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งในที่นี้เนี่ยอาจจะใช้เครื่องมือที่มาช่วยในการแยกแยะได้ จริงๆ มันมีหลายเครื่องมืออยู่ แต่เครื่องมือที่เราจะใช้ในวันนี้ก็คือ เป็นเครื่องมือที่จะแยกแยะให้เห็นว่าความขัดแย้งที่มันเกิดขึ้นเนี่ยมันอยู่ในระดับไหนใน 3 ระดับ

ระดับแรกก็คือในระดับบุคคล ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน แล้วก็ระดับของโครงสร้างของระบบ

ความขัดแย้งระดับบุคคล

ในขั้นตอนสุดท้าย ก็คือขั้นตอนของการเติมมุมมองเข้าไป คือเมื่อฟาฟังอย่างตั้งใจ สะท้อน ทวนคำพูดโดยที่ไม่ตัดสินและสามารถที่จะเป็นตัวกลางระหว่างคู่กรณีที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ยินกันและกัน อย่างเท่าเทียม อย่างยุติธรรม  ฟาจะดำรงสถานะที่เป็นกลางในกรณีนี้ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าฟาก็จะช่วยในการแยกแยะประเด็นได้ ก็จะเป็นการเติมมุมมองของฟาเข้าไป ก็คือฟาจะทำหน้าที่ช่วยทำให้คู่กรณีและวงเนี่ยมองเห็นว่า ความขัดแย้งเนี่ยมันมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งในที่นี้เนี่ยอาจจะใช้เครื่องมือที่มาช่วยในการแยกแยะได้ จริงๆ มันมีหลายเครื่องมืออยู่ แต่เครื่องมือที่เราจะใช้ในวันนี้ก็คือ เป็นเครื่องมือที่จะแยกแยะให้เห็นว่าความขัดแย้งที่มันเกิดขึ้นเนี่ยมันอยู่ในระดับไหนใน 3 ระดับ

ระดับแรกก็คือในระดับบุคคล ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน แล้วก็ระดับของโครงสร้างของระบบ

ความขัดแย้งระดับบุคคล

ในระดับตัวบุคคลเนี่ย บางทีมันเป็นความขัดแย้งแบบที่มันเป็นเรื่องของท่าที เป็นเรื่องของนิสัย บางทีเป็นคนที่ทำเสียงดังมาก หรือว่าเป็นคนที่มีบุคลิกที่มีคนพูดอะไรมาแล้วจะปฏิเสธไว้ก่อน หรือเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดก็เลยไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมามันเลยทำให้ไม่เข้าใจกัน 

บางทีก็จะเป็นคนที่พูดจาตรงไปตรงมา ลืมคิดถึงว่าอีกฝ่ายนึงฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร ไม่ถนอมน้ำใจกัน หรืออะไรทำนองนี้นะครับ บางทีมันก็เป็นเรื่องบุคลิก ท่าทาง นิสัย หรือว่าในช่วงนี้เราพักผ่อนน้อย เรางานเยอะ วุ่นวาย ก็เลยทำงานได้ไม่ค่อยดีอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งถ้าเราได้มาพูดคุยกันในระดับนี้ เราอาจจะเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้นว่า โอเคมันเป็นเรื่องของบุคลิก มันเป็นเรื่องของช่วงนี้เขาทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ก็อาจจะมาพูดกันแล้วเข้าอกเข้าใจกัน อาจจะมีการขอโทษขอโพยกัน หรืออาจจะมีการทำความเข้าใจกันว่า โอเค นิสัยของคนนี้เป็นอย่างนี้ เราก็รับกันได้มากขึ้น แปลความหมายพฤติกรรมที่เขาแสดงออกมา อย่างเข้าอกเข้าใจมากขึ้นก็ได้

ความขัดแย้งระดับความสัมพันธ์

ในระดับที่ 2 ที่เป็นระดับของความสัมพันธ์ ก็คือเป็นเรื่องที่เราตกลงกัน เป็นกติกาหรือว่าเป็นวิถีการอยู่ร่วมกันของเรา บางทีเราไม่ได้คุยกันก่อน เราก็ไม่รู้กติกาข้อตกลงกันและกัน เราก็เลยทำตัวอย่างที่เราทำเป็นปกติ โดยไม่ได้รู้ว่าคนอื่นเป็นอย่างไร บางทีถ้าเรามีการจัดการเรื่องกติกาหรือข้อตกลงกันมาก่อน มันอาจจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ แต่ว่าบางทีเนี่ยเราไม่รู้ว่าจะต้องคุยเรื่องอะไรกันมาก่อนบ้าง แล้วเราทำงานกันไปเลยโดยที่ไม่รู้ว่า เฮ้ย ตกลงใครต้องทำหน้าที่อะไร จะต้องใส่ใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ หรือว่าไม่ได้ตกลงกันเรื่องเวลาให้ชัดเจน ไม่ได้ตกลงกันเรื่องวิธีการทำงานที่ชัดเจน มันก็อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ 

ซึ่งถ้าเรามาคุยกันเรื่องนี้ว่า โอเค กติกาไม่ชัดเจน หรือไม่ได้คุยกติกากันมาก่อน ไม่ได้ตกลงกันมาก่อน แต่ละคนก็เลยตัดสินใจกันในตัวของตัวเองไป โดยที่ไม่ได้รู้ว่ากลุ่มคนอื่นเขาคิดอะไรกันอยู่ ความขัดแย้งมันก็จะเกิดขึ้นได้ เราก็มาแก้ปัญหาที่ในระดับของความสัมพันธ์กัน เรามาสร้างกติกา สร้างข้อตกลงกันใหม่ได้ 

นอกจากนั้นเนี่ยมันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่มันเป็นเรื่องของอาวุโสก็มีนะครับ เราอาวุโสมาก อาวุโสน้อย เรื่องความเป็นเพศ เรื่องการศึกษา เรื่องตำแหน่งหน้าที่อาชีพที่มันแตกต่างกัน มันก็อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ ซึ่งถ้าเรามาทำความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์เหล่านี้เนี่ย อาจจะทำให้เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้นได้

ความขัดแย้งระดับโครงสร้าง

แล้วสุดท้ายก็คือความขัดแย้งในระดับของโครงสร้าง โครงสร้างมันหมายถึงตัวความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างกัน ก็คือว่า เราจะตกลงกันว่าใครมีอำนาจหน้าที่อะไร แล้วมีขอบเขตในการตัดสินใจกันระดับไหน หรือใครจะไปอยู่ตำแหน่งแห่งที่ไหน ทำอะไร ตามความถนัดหรือเปล่า หรือใครกันแน่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องอะไรบ้าง

เมื่อเราแยกแยะออกมาได้เป็น 3 ระดับแบบนี้ เราก็จะได้พอมองเห็นได้ว่า ตอนนี้ที่เราทะเลาะกัน เราทะเลาะเรื่องอะไรกันอยู่ เพราะว่าบางครั้ง เวลาคนในวงขัดแย้งกันเนี่ยบางทีมันปนไป 3 เรื่อง บางทีเราพูดกันเรื่องของตัวโครงสร้าง ตัวอำนาจกันอยู่ แต่ว่ามันก็จะมีเรื่องของความขัดแย้งกับบุคคลโผล่ขึ้นมา ความขัดแย้งในระดับความสัมพันธ์โผล่ขึ้นมา มันทำให้เราไม่สามารถที่จะจัดการได้ทีละเรื่อง เพราะฉะนั้นฟาจะต้องทำหน้าที่ช่วยแยกแยะให้ได้ว่า ตอนนี้มีความขัดแย้งเรื่องอะไรอยู่ และมาคุยกันทีละระดับ คุยกันทีละเรื่องทีละประเด็น ก็จะช่วยให้เราสามารถที่จะจัดการกันไปทีละเปลาะ  ทีละประเด็นได้

Recap

ครับ นี่ก็คือหลักการ ขั้นตอนการจัดการความขัดแย้งในฉบับฟาสามัญที่ไม่ใช่การให้ผู้มีอำนาจเข้ามาตัดสินใจให้ หรือมาหยุดกลบความขัดแย้งลง แต่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ชวนให้คู่กรณีเนี่ยต่างได้ยินกันและกัน ชวนให้วงเข้ามามีส่วนร่วม แล้วก็รับรู้กันและกัน ก่อให้เกิดเป็นอำนาจร่วม ด้วยการที่ฟาชวนให้ทุกคนตั้งหลักก่อน ได้ยินกันและกัน รับรู้ความรู้สึก รับรู้จุดยืนของกันและกัน มาชวนกันแยกแยะประเด็น และสุดท้ายก็คือนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันทีละเรื่องทีละเปลาะ 

ก็ลองเอาไปใช้ดูนะครับสำหรับการจัดการความขัดแย้งในฉบับฟาสามัญที่มุ่งไปสู่การสร้างอำนาจร่วมของกันและกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เท่าเทียมกันในที่สุด

ขอบคุณครับ