ฟาสามัญ ep.9
พัฒนาการกลุ่ม 3 ขั้นและการขับเคลื่อนกลุ่ม

สวัสดีครับ เรามาพบกันกับคอร์สออนไลน์ฟาสามัญ ในคลิปนี้ เราจะมาพิจารณาบทบาทสำคัญอันหนึ่งของฟาในเรื่องของการเคลื่อนกลุ่มไปข้างหน้า

เมื่อคนเราเนี่ยมารวมกันเป็นกลุ่มแล้ว เราจะมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนั้น กลุ่มเองก็จะมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอกด้วย

การที่คนเรามารวมกันเป็นกลุ่มได้ สิ่งสำคัญอันหนึ่งก็คือมันก็จะมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นแค่ฝูงชนมารวมกันทั่วๆ ไปไม่ได้มีลักษณะความเป็นกลุ่ม

การมีเป้าหมายร่วมกันของกลุ่ม ทุกคนในกลุ่มก็จะพยายามที่จะช่วยกันพากลุ่มไปให้ถึงเป้าหมาย

แล้วการที่กลุ่มนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ดีเพียงใด มันก็จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม ซึ่งเราจะมีวิธีการสังเกตความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มด้วยแนวคิดเรื่องพัฒนาการกลุ่ม 3 ขั้นตอนของ M. Scott Peck

ภาวะชุมชนเทียม

เวลาคนเรามาเจอกันในช่วงแรกนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราอยู่ในวัฒนธรรมแบบวัฒนธรรมเงียบในสังคมที่มีการกดขี่แบบนี้นะครับ เราเจอกันช่วงแรกๆ เราก็จะเจอกันแบบเป็นช่วงฮันนีมูน เราก็จะเป็นคนที่รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เราเปิดใจกันและกัน พูดจาสุภาพใส่กันและกัน เราไม่มีความขัดแย้ง เราจะค่อยๆ ช่วยเหลือร่วมมือกันทำงาน ซึ่งมันก็จะดูเป็นช่วงที่ดูเหมือนแบบเรามีความรักความสามัคคีกัน แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ แล้วเนี่ยมันก็จะมีหลายเรื่องที่เราเก็บเอาไว้ เราอาจจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น อาจจะไม่พอใจสิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของกลุ่ม แต่ว่าเราก็จะไม่พูดถึงเรื่องนั้น

คำถามหลักๆ ที่เราจะถามตัวเองในช่วงนี้ก็คือ 

  • ใครเป็นผู้นำที่แท้จริงของกลุ่มกันแน่ แล้วฉันจะรอฟังผู้นำนั้น 
  • ฉันจะมีบทบาทยังไงในกลุ่ม 
  • ฉันจะปลอดภัยไหมในกลุ่ม
  • ฉันจะเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มได้อย่างไร

ก็จะเป็นคำถามในช่วงแรกๆ ของสมาชิกในกลุ่มสำหรับขั้นตอนนี้ ซึ่งเราเรียกมันว่าเป็นขั้นตอนของการฮันนีมูน ขั้นตอนของชุมชนเทียม

ในช่วงนี้นะครับคนส่วนใหญ่แต่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเนี่ยเหมาะสมอยู่กับกลุ่มหรือไม่ ไม่รู้ว่าตัวเองควรจะมีบทบาทอะไรในกลุ่ม มันก็อาจจะมีบางคนที่แบบมีประสบการณ์ มีความสามารถ มีบุคคลิกที่ออกมานำ ออกมาแสดงบทบาทในการเป็นผู้นำคนในกลุ่ม แต่ว่าโดยส่วนใหญ่เขาจะถามหาผู้นำก่อน มองหาว่าใครเป็นผู้นำในกลุ่ม เพื่อที่จะได้เป็นผู้ตามที่ดี ในภาวะแบบนี้นะครับเอาเข้าจริงๆ มันจะอยู่ได้ไม่นาน บทบาทของฟาในช่วงนี้ก็คือ ช่วยโอบอุ้มคนในกลุ่ม จนกระทั่งเขารู้สึกว่ามีพื้นที่ปลอดภัยอยู่ในกลุ่ม อย่างที่เคยพูดไปแล้วว่า มันจะมีการทำให้คนรู้สึกปลอดภัยอยู่ในกลุ่มได้อย่างไร ถ้าฟาทำสำเร็จ ถ้าฟาสามารถทำให้แต่ละคนรู้สึกว่าตัวเองเหมาะสมอยู่ในกลุ่มที่นี่ รู้สึกปลอดภัยที่จะอยู่ที่นี่ มันจะเริ่มเข้าสู่ช่วงที่ 2 ครับ

ภาวะโกลาหล

ช่วงที่ 2 ของพัฒนาการกลุ่มก็คือช่วงเวลาของความโกลาหล เรามาอยู่ร่วมกันแล้วเนี่ยเมื่อผ่านเหตุการณ์อะไรบางอย่าง  ผ่านงาน ผ่านกิจกรรม ผ่านความท้าทายที่มีต่อกลุ่ม มันจะเริ่มเกิดความขัดแย้งขึ้น แล้วแต่ละคนก็จะเริ่มรู้สึกปลอดภัยที่จะไม่เห็นด้วยกับคนอื่น ปลอดภัยที่จะแสดงความเห็นของตัวเองเมื่อรู้ว่าเขารู้จะไม่ถูกทำร้าย ไม่ถูกลงโทษ คนก็จะเริ่มที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ 

เพราะฉะนั้นช่วงนี้เนี่ย สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าพัฒนาการกลุ่มเนี่ยมันมีการเติบโตมาถึงแบบนี้ได้ ก็จะตกใจมากกว่า เอ๊ะ! ความรัก ความสามัคคี ความอบอุ่น ความช่วยเหลือเกื้อกูล โอบอุ้ม ฟังกันและกันเนี่ยมันหายไปไหน แต่จริงๆ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงที่ถือว่ากลุ่มเนี่ยเราเติบโตขึ้น ก็คือกล้าที่จะขัดแย้งกัน กล้าที่จะบอกความต้องการของตัวเอง กล้าที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมามากขึ้น มันจึงเกิดเป็นความขัดแย้งขึ้น

แต่ว่าความขัดแย้งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาจากทุกคนในกลุ่มเนี่ยรู้สึกว่าอยากจะมีบทบาทที่จะช่วยพากลุ่มไปข้างหน้า เพียงแต่มีวิธีการ มีความเห็น มีข้อเสนอที่มันแตกต่างกัน แล้วก็อยากที่จะนำเสนอต่อกลุ่ม บางทีตอนนี้มันจะเป็นช่วงของการไม่ฟังกันและกัน พยายามหยุดอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้พูดเพื่อที่ตัวเองจะได้พูด พยายามที่จะเอาชนะข้อเสนอของคนอื่น มันก็เลยดูเป็นเหมือนช่วงเวลาที่คนขัดแย้งกันเยอะ แต่เอาเข้าจริงแล้วถ้ามองลงไปลึกๆ จริงๆ ก็คือ ทุกคนในกลุ่มพยายามที่จะทำให้กลุ่มนี้บรรลุเป้าหมายร่วมกันต่างหาก 

เพราะฉะนั้นคำถามหลักของสมาชิกของกลุ่มในช่วงนี้ก็คือ จะทำยังไงความคิดเห็นของฉันประสบการณ์ของฉันจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มได้มากที่สุด

ฉันจะทำยังไงให้คนอื่นฟังฉัน ฉันจะทำยังไงให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายตามวิธีการของฉันให้มากที่สุด

ดังนั้นจึงมักจะเกิดเป็นช่วงวาระของการโกลาหลขึ้นมาเป็นช่วงเหมือนพายุเข้า โห สิ่งต่างๆ มันจะแบบวุ่นวายไปหมด 

คนที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องแบบนี้ ก็มักจะพยายามที่จะพากลุ่มกลับไปสู่ขั้นตอนที่ 1 เช่น มาใช้อำนาจ บอกว่าหยุดได้แล้ว หยุดความขัดแย้งต่างๆ ซะ อย่าขัดแย้งกัน เรากลับมารักกันเหมือนเดิม

บางทีก็ต้องใช้เอาคนที่มีอำนาจมาหยุด บางทีก็จะใช้กฎเกณฑ์มาหยุด หรือบางทีก็มาใช้ความเรียกร้องความโศกเศร้าอาดูรอะไรต่างๆ นะครับ เพื่อที่จะให้คนกลับไปอยู่ในช่วงที่ 1 ให้ได้ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วคนเรา..เคยผ่านเข้ามาสู่ขั้นที่ 2 แล้ว เขาเริ่มรู้แล้วว่าเขาสามารถที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้ในกลุ่ม มันก็จะกลับไปได้อย่างไม่เหมือนเดิมอยู่ดี 

แต่ว่าถ้าหากว่าฟาสามารถที่จะช่วยประคับประคองกลุ่มได้ กลุ่มจะค่อยๆ เติบโตขึ้น

การประคับประคองกลุ่มก็คือการเปิดให้มีพื้นที่ปลอดภัย การพยายามช่วยสร้างกติกาอะไรบางอย่างเช่น การตั้งคำถามแบบเป็นชุด ค่อยๆ ถามกันทีละประเด็น เชิญชวนให้ค่อยๆ ฟังกันทีละเรื่อง หรือว่ามาพูดกับฟา ให้ฟาเป็นคนที่พูดกับวง อย่างนี้เป็นต้น

มันจะค่อยๆ ช่วยลดการปะทะกันอย่างวุ่นวายลง ค่อยๆ จัดระเบียบช้าๆ ทีละเรื่อง ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ถูกพูดถึง ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ค่อยๆ แก้กันไปทีละเปลาะ ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ค่อยมาดูกันว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องหลัก-เป็นเรื่องรอง มันจะนำไปสู่การเลือกของกลุ่ม กลุ่มจะเป็นผู้เลือก กลุ่มจะเป็นผู้ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง

ภาวะชุมชนจริง

แล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ก็คือเป็นขั้นตอนของชุมชนจริง เป็นขั้นตอนของการจัดระเบียบใหม่ เป็นขั้นตอนของการที่กลุ่มจะค่อยๆ สร้างข้อตกลงใหม่ของกลุ่มขึ้นมา ข้อตกลงใหม่ของกลุ่มนี้จะเป็นข้อตกลงที่ทุกคนในกลุ่มรู้สึกว่า มันทำให้ทุกๆ คนได้มีบทบาทที่เหมาะสมแบบของตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำอะไรให้เหมือนๆ กัน แต่ว่าคนแต่ละคนในกลุ่มก็จะใช้ความสามารถของตัวเองในแต่ละเรื่อง แต่ละช่วงเวลา ข้อตกลงเหล่านี้มันจะนำไปสู่การที่ทำให้เป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายของกลุ่มไปด้วยกันได้

ช่วงเวลาแบบนี้ สิ่งที่สมาชิกจะตั้งคำถาม จะไม่ได้ถามว่า ฉันจะหาผู้นำได้จากไหน ฉันจะตามผู้นำได้อย่างไร 

หรือไม่ได้ถามว่าใครจะมาฟังฉัน ใครจะมาตามฉัน

แต่จะตั้งคำถามว่า ฉันจะมีบทบาทร่วมกับทุกๆ คนในกลุ่มได้อย่างไร ฉันจะหนุนช่วยกันและกันได้อย่างไร มันจะไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะ มันจะไม่ใช่เรื่องของการควบคุมการ มันจะไม่ใช่เรื่องของการพยายามที่จะยัดเยียดเอาเป้าหมายหรือวิธีการของตัวเองไปให้กับคนอื่น จะไม่ใช่การพยายามไปบังคับบุคลิกนิสัยของคน การตัดสินใจของคนอื่น ไปบังคับวัฒนธรรมของคนอื่น แต่มันคือการสร้างความร่วมมือกัน ให้รู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน ให้รู้สึกว่าเป้าหมายนั้นมันตอบสนองต่อทุกๆ คน และเคารพในวัฒนธรรม ในบุคลิก ในวิธีการของคนอื่น แล้วก็สังเคราะห์มัน กลายเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มในขั้นตอนสุดท้ายนี้ซึ่งเป็นขั้นตอนของชุมชนจริง

ลองสังเกตดูก็ได้นะครับว่าในสังคมเรา ในกลุ่มเรา มันก็มักจะมีการเติบโตของกลุ่มแบบนี้อยู่เสมอ และหลายครั้ง พอเราไม่รู้ว่ากลุ่มมันสามารถที่จะเติบโตมาได้ 3 ขั้นตอน เราจึงจะพบเห็นคนที่พยายามที่จะนำพากลุ่มกลับไปสู่ขั้นตอนที่ 1 อยู่เสมอ เอาผู้มีอำนาจมาจัดการหรือว่าปรามด้วยศีลธรรม ปรามด้วยหลักเกณฑ์อะไรต่างๆ ทั้งๆ ที่สิ่งที่มันควรจะเป็นสำหรับคนที่จะเป็นฟาหรือคนที่อยากที่จะให้กลุ่ม ให้สังคมเติบโตขึ้น มันคือการพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ความขัดแย้งต่างๆ ได้มาถูกพูดคุยกันแล้วก็หาทางออกร่วมกัน แทนที่จะเป็นเรื่องของการใช้อำนาจมากดข่มกัน นี้เป็นพัฒนาการกลุ่ม 3 ขั้นตอน

สรุปโมเดลก้นหอย

พัฒนาการกลุ่ม 3 ขั้นตอน ตั้งแต่ชุมชนเทียมไปสู่ขั้นตอนของการโกลาหล แล้วก็ขั้นตอนของชุมชนจริง มันจะเป็นเหมือนกับวงก้นหอยที่ค่อยๆ พัฒนาการไป แล้วก็มันสามารถที่จะกลับมาสู่ช่วงของชุมชนเทียมได้ด้วย

บางทีมันอาจจะเกิดมีสมาชิกใหม่เข้ามาในกลุ่มเยอะขึ้น ข้อตกลงเดิมอาจจะใช้ไม่ได้แล้วโครงสร้างของกลุ่มเปลี่ยนไป มีคนที่มีวัฒนธรรมแบบอื่น มีคนที่มีบุคลิกนิสัยแบบอื่นเข้ามาในกลุ่ม ก็อาจจะทำให้กลับไปสู่ช่วงโกลาหล หรือว่ากลับไปสู่ช่วงชุมชนเทียมก็ได้

หรือบางทีมีคนใช้อำนาจเหนือเยอะๆ มีอำนาจเยอะมากๆ กลุ่มก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปสู่ชุมชนเทียม เช่น ทุกคนคนก็อาจจะรู้สึกว่าต้องรักษาความปลอดภัยของตัวเองเอาไว้ก่อน

ดังนั้น ฟาก็จะทำหน้าที่คอยสังเกต คอยดูว่ากลุ่มเนี่ยมันอยู่ในขั้นตอนไหน ถ้าอยู่ในช่วงแรก-ช่วงชุมชนเทียมก็จะสนุกสนานมีความสุขดีนะครับ ทุกคนในกลุ่มก็จะมามองฟาในฐานะที่มีบทบาทในการนำ ก็จะเชื่อฟังฟาเยอะหน่อย แต่ถ้าฟาทำสำเร็จ ฟาจากค่อยๆ ทำให้กลุ่มสามารถที่จะโต้แย้งฟาได้

บางทีเขาก็จะโจมตีฟา บางทีเขาก็จะขัดแย้งกับฟา ลองภูมิ ลองดี ขัดขืน ขัดแย้งกับฟาได้ ฟาเองก็จะต้องรักษาความมั่นคงภายในของตัวเอง ให้รู้ว่านี่คือภาวะที่กลุ่มเติบโตขึ้นแล้ว กล้าที่จะท้าทายคนที่เป็นตัวแทนของอำนาจ กล้าที่จะท้าทายกันและกัน กล้าที่จะท้าทายความสัมพันธ์ที่มันไม่เท่าเทียม เราก็จะค่อยๆ รับฟัง เปิดพื้นที่ แล้วก็ขยับวงให้เกิดเป็นข้อตกลงใหม่ เป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่กลุ่มจะไปข้างหน้าร่วมกันได้ หรือแม้แต่ในฐานะที่ฟาเองก็เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มด้วยในการที่จะเดินทางร่วมไปกับกลุ่มจนถึงเป้าหมายได้

การขับเคลื่อนกลุ่มออกจาก comfort zone

หน้าที่สำคัญของฟาก็คือ การพากลุ่มจากชุมชนเทียม ไปสู่ภาวะโกลาหล แล้วก็เป็นภาวะของชุมชนจริง ซึ่งวิธีการในการที่จะเคลื่อนกลุ่มได้ หลักๆ เลยเนี่ยก็คือ การใช้แนวคิดเรื่องของพื้นที่ปลอดภัยที่เราพูดกันไปแล้วในคลิปก่อนหน้านี้ ว่าเราจะทำให้คนรู้สึกปลอดภัยได้อย่างไร กับอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้ในการเคลื่อนกลุ่มได้ ก็คือแนวคิดเรื่องของ Comfort zone หรือว่าแนวคิดเรื่องเขตสบาย เราอาจจะเคยได้ยินทฤษฎีนี้นะครับในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง ที่เราเคยได้ยินกันเลยสำหรับบางคนก็คือทฤษฎีไข่ดาว ก็จะมาเปรียบเทียบแบบนี้นะครับก็คือว่า  เราจะมีไข่ดาวอยู่ ไข่ดาวก็จะมีไข่แดงที่เป็นตัวเรา ตัวเราเนี่ยจะมีขอบเขตอยู่ที่เป็นไข่ขาว ซึ่งเป็นเขตสบายของเรา เป็นพื้นที่ที่เราคุ้นเคย  เป็นพื้นที่ที่เราถนัด เป็นพื้นที่ที่เรารู้สึกว่าโอเคทำได้โดยที่ทำโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่มีความกลัว เป็นพื้นที่ทั่วๆ ไป ซึ่งเขตนี้เป็นเขตสบาย หมายความว่ามันเป็นเขตที่เรากลับมาพักผ่อนได้ กับเป็นเขตที่เราอยู่เฉยๆ นิ่งๆ ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ไม่เครียด แต่ว่าเขตนี้เนี่ย มันไม่ได้ทำให้เราโตขึ้น มันแค่ทำให้เราใช้ชีวิตเป็นปกติประจำวันเท่านั้นเอง

การขับเคลื่อนกลุ่มออกจาก comfort zone

หน้าที่สำคัญของฟาก็คือ การพากลุ่มจากชุมชนเทียม ไปสู่ภาวะโกลาหล แล้วก็เป็นภาวะของชุมชนจริง ซึ่งวิธีการในการที่จะเคลื่อนกลุ่มได้ หลักๆ เลยเนี่ยก็คือ การใช้แนวคิดเรื่องของพื้นที่ปลอดภัยที่เราพูดกันไปแล้วในคลิปก่อนหน้านี้ ว่าเราจะทำให้คนรู้สึกปลอดภัยได้อย่างไร กับอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้ในการเคลื่อนกลุ่มได้ ก็คือแนวคิดเรื่องของ Comfort zone หรือว่าแนวคิดเรื่องเขตสบาย เราอาจจะเคยได้ยินทฤษฎีนี้นะครับในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง ที่เราเคยได้ยินกันเลยสำหรับบางคนก็คือทฤษฎีไข่ดาว ก็จะมาเปรียบเทียบแบบนี้นะครับก็คือว่า  เราจะมีไข่ดาวอยู่ ไข่ดาวก็จะมีไข่แดงที่เป็นตัวเรา ตัวเราเนี่ยจะมีขอบเขตอยู่ที่เป็นไข่ขาว ซึ่งเป็นเขตสบายของเรา เป็นพื้นที่ที่เราคุ้นเคย  เป็นพื้นที่ที่เราถนัด เป็นพื้นที่ที่เรารู้สึกว่าโอเคทำได้โดยที่ทำโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่มีความกลัว เป็นพื้นที่ทั่วๆ ไป ซึ่งเขตนี้เป็นเขตสบาย หมายความว่ามันเป็นเขตที่เรากลับมาพักผ่อนได้ กับเป็นเขตที่เราอยู่เฉยๆ นิ่งๆ ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ไม่เครียด แต่ว่าเขตนี้เนี่ย มันไม่ได้ทำให้เราโตขึ้น มันแค่ทำให้เราใช้ชีวิตเป็นปกติประจำวันเท่านั้นเอง

การขับเคลื่อนกลุ่มเข้าสู่พื้นที่เรียนรู้และเติบโต

เขตถัดมาที่อยู่นอกไข่ขาวของเรา เป็นเขตที่อยู่ในพื้นที่กระทะนี่แหละ เรียกว่าเขตไม่สบาย เขตที่เราเสี่ยง เขตที่เราไม่คุ้นเคย ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเดินเป็นปกติแต่ว่าถ้าหากว่าเราต้องไปขี่จักรยานโดยที่ไม่เคยหัดขี่จักรยานเลยก็อาจจะรู้สึกกังวล รู้สึกไม่สบาย รู้สึกที่จะต้องเก้ๆ กังๆ ไปหมดว่า เอ๊ะ! ทำอะไรดี จะขึ้นหรือจะลง จะเอามือไปไว้ตรงไหนแล้วก็มีความเสี่ยงที่จะลัมด้วย หลายครั้ง คนที่ออกจากพื้นที่ปลอดภัยมาสู่พื้นที่ไม่สบายเนี่ย ก็จะรู้สึกอยากที่จะหนี ไม่สบายใจ ไม่สนุก แต่อีกแง่นึงนะครับ เขตนี้เนี่ยเป็นเขตที่เราได้เรียนรู้มากที่สุด นี่เป็นทฤษฎีคร่าวๆ สำหรับการพัฒนาตัวเอง

นอกจากนั้น การออกมานอกเขตไม่สบายมากเกินไปที่เราจะต้องระมัดระวังก็คือเหตุที่เป็นเขตอันตราย เขต Panic zone เขตนี้เนี่ยเป็นเขตที่เราไม่สามารถที่จะมีสติในการเรียนรู้แล้ว มันจะเป็นความน่ากลัว มันน่ากลัวเกินไป เช่น มีความเสี่ยงอันตรายมากเกินไป หรือว่าเป็นเรื่องที่เราไม่คุ้นเคยมากเกินไป เป็นสิ่งที่เรากลัวตั้งแต่เด็กๆ เป็นปมของเรา เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่เราแบบ..มันน่ากลัวเกินไปจนกระทั่งเราปิดการรับรู้ เราไปใช้สัญชาตญาณการเอาตัวรอดแทน เราก็จะไม่ได้เรียนรู้ แล้วสิ่งที่ฟาจะต้องทำในแง่บุคคล เราก็จะชวนคนให้เข้ามาอยู่ในเขตเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม มีเกม กิจกรรมอะไรให้ หรือว่าชวนให้ทำสิ่งนั้นทำอย่างนี้ในสิ่งที่เขาไม่คุ้นเคย

แน่นอนว่ากลุ่มเองก็เช่นกัน เราสามารถชวนกลุ่มให้ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาได้ กลุ่มมันมักจะมีแนวโน้มที่จะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคย ทำในสิ่งที่ตัวเองรับประกันได้ว่ามันมีความสำเร็จแล้ว
ในแง่ของกลุ่มเราอาจจะคุ้นเคยกับการจัดฝึกอบรม ทำหนังสือ จัดทำการขายสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือว่าทำกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่เราคุ้นเคยมีประสบการณ์กัน แบบนี้ มันรับประกันได้ว่ามันจะสำเร็จ แต่ว่ามันก็จะได้เท่านี้ ทำแบบเดิมก็จะได้ความสำเร็จแบบเดิม แต่เราสามารถที่จะชวนกลุ่มให้เสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยงเพื่อการเรียนรู้ หรือเสี่ยงเพื่อทำให้กลุ่มเนี้ยเติบโตและบรรลุเป้าหมายได้ ทำสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ ก็คือเราสามารถที่จะชวนกลุ่มเข้าสู่เขตเสี่ยง เริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม การตั้งคำถามว่าอะไรคือสิ่งที่เราคุ้นเคย เราถนัดแล้ว อะไรเป็นเขตที่เรารู้สึกไม่ถนัดแล้วเราคิดว่าไม่เคยลอง น่าลองแต่ไม่กล้าลอง เราก็จะเป็นการสำรวจเพื่อที่จะขยับไปสู่ในเขตนั้นต่อไป

คำถามที่ท้าทายกลุ่ม

เราสามารถตั้งคำถามที่มันท้าทายความสัมพันธ์ทางอำนาจได้ เพื่อเป็นการท้าทายกลุ่ม เช่น

กลุ่มของเราประสบความสำเร็จสูงมากแล้วบทบาทของผู้หญิงล่ะเป็นอย่างไร

หรือว่าตั้งคำถามว่าในความสำเร็จที่ผ่านมาของเรา การมีส่วนร่วมของคนในกลุ่มเป็นอย่างไร มันก็จะเป็นความเสี่ยงที่คนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยกล้าตอบ เพราะว่ามันมีวามกระทบกระทั่งกันและกัน ฟาสามารถที่จะค่อยๆ ตั้งคำถามเหล่านี้ให้มันเกิดขึ้น เพื่อให้คนค่อยๆ เรียนรู้ที่จะตอบคำถาม ขบคิดกับมัน มองในมุมที่ไม่เคยมองมาก่อนได้ อาจจะตั้งคำถามกับกลุ่มว่า กลุ่มมีความเเชี่ยวชาญเรื่องงานขายมาก มีความเชี่ยวชาญเรื่องงานรณรงค์มาก แต่ว่ากลุ่มเนี่ยได้มีองค์ความรู้อะไรเกิดขึ้นมาบ้าง เป็นอีกมุมนึงที่ไม่ใช่ความคุ้นเคยของเขา ลองชวนเขาตั้งคำถามแบบนี้นะครับ มันก็จะนำไปสู่การมองเห็นอีกมุมหนึ่งที่มันยากขึ้น มันไม่คุ้นเคย มันไม่กล้าที่จะลองทำ มันก็จะช่วยให้กลุ่มค่อยๆ เติบโตขึ้นมา เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงนี้มันก็ได้ตั้งแต่การตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกันในกลุ่ม การตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางอำนาจ ระหว่างกลุ่มเรากับกลุ่มอื่น หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องความเชี่ยวชาญ ความเชี่ยวชาญเดิมกับความเชี่ยวชาญใหม่ หรือว่าความเชี่ยวชาญที่เรายังไม่เคยคิดถึง

หรือว่าเป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับสถานการณ์ใหม่ที่มันเกิดขึ้นในทางสังคม ซึ่งบางทีมันก็เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป สถานการณ์ทางสังคมที่มันเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่มันเปลี่ยนไป มันนำไปสู่ความสัมพันธ์ของกลุ่มเราต่อสังคมภายนอกนี้มันเปลี่ยนไปยังไง 

มันก็จะเป็นความเสี่ยงแบบนี้ที่อยู่ภายในความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มเรา 

ดังนั้นฟาก็จะทำหน้าที่ตรงนี้เพื่อที่จะขับเคลื่อนคนในกลุ่ม ขับเคลื่อนกลุ่มไป มันเริ่มตั้งแต่การสร้างพื้นที่ปลอดภัย การพยายามสังเกตว่ากลุ่มมีพัฒนาการกลุ่มไปถึงไหนแล้ว ผลักดันเข้าสู่ภาวะต่างๆ แล้วก็ค่อยๆ ให้มันเติบโตขึ้น 

เมื่อเข้าสู่ภาวะชุมชนจริงมากเกินไป จนมันนิ่ง มันเกิดเป็น safe zone อะไรขึ้นมา อาจจะต้องโยนคำถามอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดภาวะโกลาหลขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คนในกลุ่มเนี่ยก่อร่างสร้างความสัมพันธ์ใหม่ขึ้นมา เกิดเป็นชุมชนจริงที่มันเข้มข้นขึ้น มันมีพลังมากขึ้น

สรุปภาพรวม

เรื่องพัฒนาการกลุ่มนะครับเป็นการที่เราสามารถที่จะมองเห็นได้ว่า เราจะเคลื่อนจากวัฒนธรรมเงียบที่คนไม่กล้าพูด พูดแต่สิ่งดีๆ ไม่ยอมพูดถึงความขัดแย้ง ไปสู่ภาวะที่มันเกิดเป็นความโกลาหลแล้วก็นำไปสู่การสร้างเป็นพื้นที่ของความปลอดภัย พื้นที่ของการสนทนา สร้างวัฒนธรรมของการสนทนาขึ้นมา

ทั้งหมดนี้เพื่อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจกันใหม่ ให้เราเท่าเทียมกันมากขึ้น และดึงเอาความเป็นมนุษย์ของกันและกันออกมาให้ได้มากขึ้น

ก็ขอขอบคุณนะครับทุกท่านที่ติดตามคอร์สออนไลน์ฟาสามัญมาจนถึงคลิปนี้นะครับ โอกาสหน้าเราจะได้มาเจอกันอีกนะครับสำหรับเรื่องของเครื่องมือต่างๆ และแนวคิดต่างๆ ของฟาสามัญ ขอบคุณครับ